Posts

ปริญญาโทวันแรก กับคำถามที่ไม่ควรเกิดในเวลานี้

มันคงเป็นเรื่องปกติกับความรู้สึกเกร็งๆเวลาเราเริ่มทำอะไรใหม่ๆ เริ่มเรียนที่ใหม่ ทำงานที่ใหม่ ย้ายบ้านใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตัดสินใจไปเรียนปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติของผม จากสังคมปริญญาตรีที่ตารางเรียนแทบจะเหมือนเพื่อน อยู่กับเพื่อนที่เป็นคนไทย ก้าวไปสู่สังคมที่ครึ่งคลาสเป็นคนจากหลากหลายชาติ แถมตารางเรียนผมซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรเรียนควบ 4+1 เพียงคนเดียวในห้อง ดันเรียนไม่เท่าเพื่อนในคลาส เท่านั้นไม่พอ เพื่อนต่างชาติบางคนคุยกันเหมือนจะรู้จักกันมาก่อนเป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ประกอบกับสำเนียงภาษาอังกฤษที่ผมไม่เคยได้ยิน ไม่คุ้นเคย กลายเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงด้านการสื่อสารในวันแรก ทั้งหมดกลายเป็นแรงกดดันมหาศาลที่ทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูก isolated ออกมา ผมไม่ใช่คนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีนัก แต่ก็ไม่ได้แย่ เท่าที่ใช้มาก็สื่อสารได้รู้เรื่อง และจากการสอบ TOEIC ที่ได้คะแนนมา 855 ในการสอบครั้งแรกที่ไม่ได้เตรียมตัว ก็บ่งบอกว่าด้านอ่านและฟังผมก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่ผมเปิดตัวด้วยการไม่เข้าใจสิ่งที่เพื่อนชาวยูกันดาพูด เข้าใจซึ้งถึงความหมายของคำว่า Shit just got real เลยทีเดียว ผมจำไม่ได้ว่าพูดอะไ

Digital Disruption กับการปรับตัวของธุรกิจ

เมื่อเทคโนโลยีต่างๆพัฒนาอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อรูปแบบการทำธุรกิจ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ณ โมเมนต์นี้ ธุรกิจทุกระดับจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา การหยุดพัฒนาในยุคนี้มีค่าเท่ากับการเดินถอยหลัง ในอดีตเราอาจเคยได้ยินถึงเรื่องราวการอพยพของชาวจีนที่มาตัวเปล่าแล้วประสบความสำเร็จ (ที่เขาพูดกันว่าเสื่อผืนหมอนใบนั่นแหละ) การทำธุรกิจแบบช้าแต่มั่นคงซึ่งหลายคนในปัจจุบันก็คงฝันหวานถึงการทำธุรกิจแบบนั้นและประสบความสำเร็จ โอกาสของธุรกิจยุคที่แล้วคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลของลูกค้า เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองอยากได้นั้นมีผลิตที่ไหน ขายที่ไหน ง่ายที่สุดคือไปหาคนที่เอาของพวกนี้มาขาย เพียงแค่เรารู้ว่ามีอะไรที่ลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่นั้นต้องการแต่ไม่มีใครเอามาขาย นั่นก็เป็นโอกาสเราแล้ว ยิ่งสินค้านั้นมีความเฉพาะหรือมี Barrier สูงเท่าไร ลูกค้ายิ่งไม่มีทางเลือกมากนัก เจ้าของธุรกิจแทบจะเรียกได้ว่า อยู่เฉยๆเตรียมของไว้ก็ได้กำไรสบายๆ ทีนี้กลับมาที่โลกยุคปัจจุบัน โลกที่ Internet มีอิทธิพลสูงมากในชีวิตประจำวัน โลกที่การสื่อสารครอบคลุมแทบทั้งโลก รู้ถึงรู้ทันกันหมด ลู

Criteria ในการซื้อหุ้น

Image
ผมเชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้น เข้ามาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่ละคนมักจะมีนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ซักคนเป็นไอดอล แต่เชื่อมั้ยครับ ไม่ว่าเราจะมีใครเป็นไอดอลก็ตาม เราจะมี Criteria ในการตัดสินใจซื้อหุ้นที่ไม่เหมือนกับคนที่เรามองว่าเป็นไอดอลแน่นอน Business photograph designed by Pressfoto - Freepik.com อย่างที่ผมกล่าวไว้ตอนแรก ทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นย่อมมีเหตุผลที่เข้ามาอยู่แล้ว บางคนอาจต้องการเข้ามาเก็งกำไร บางคนอาจต้องการสร้างกระแสเงินสด บางคนอยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากธนาคาร คนเรามีเหตุผลสารพัดแบบในการเอาเงินมาลงทุน เหตุผลเหล่านั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แต่ละคนลงทุนโดยมีเงื่อนไขการตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน และโดยส่วนใหญ่ไม่เหมือนแม้กระทั่งกับคนที่เป็นไอดอลของตัวเองด้วย ผมเองเข้ามาในตลาดโดยเชื่อมั่นในการลงทุนแนวเน้นคุณค่า แน่นอนครับว่าผมมี Warren Buffett เป็นไอดอลแน่นอนแต่ผมสามารถบอกได้เลยว่าจุดประสงค์ในการลงทุนของผมกับ Warren Buffett ไม่เหมือนกัน ในขณะที่การลงทุนของ Warren Buffett จะเน้นที่มูลค่า โดยเชื่อว่าการนำกำไรกลับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) เพื่อเพิ่ม

เมื่อการตัดสินใจผิดเพี้ยนไปเพราะ Information Overload

Image
ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งในบรรดาเทคโนโลยีที่มนุษย์พัฒนาขึ้นคือ มันทำให้เราเปลี่ยนโลกธุรกิจที่เดิมเราแทบไม่รู้อะไรเลยให้กลายเป็นโลกที่เรารู้มันทุกสิ่งอย่างจนมากเกินไป ในเวลาแค่ประมาณ 20 ปี ยุคสมัยนี้มีคำกล่าวที่ว่า ข้อมูลเปรียบเสมือนบ่อน้ำมัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลที่เดิมพวกเราคิดว่ามันไม่มีค่า มันสร้างความได้เปรียบมากมายในโลกธุรกิจสำหรับคนที่เห็นค่ามันและไม่ตกอยู่ในด้านมืดของมัน หากการรู้ข้อมูลมากมายสร้างโอกาสและมุมมองให้กับธุรกิจเป็นด้านสว่าง อีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นด้านมืดของมันคงเป็นการรับข้อมูลมากๆและจัดการไม่ได้จนมันส่งผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ตัวอย่างของ Information Overload แบบใกล้ตัวผม ก็เป็นเรื่องธุรกิจอพาร์ทเมนต์ที่ครอบครัวผมทำนี่แหละครับ หากจำปี 54 ที่น้ำท่วมได้ หลายๆคนคงจำได้ว่ามีเหตุการณ์ย้ายฐานการผลิตหลายโรงงานเป็นจำนวนมาก หลายๆที่ถึงกับเลิกกิจการเลยก็มี ซึ่งกิจการทางบ้านของผม ได้รับผลกระทบจาก Demand ที่ลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในความคิดผม นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหาครับ ครอบครัวผมค่อนข้างเฉื่อยมากในการตัดสินใจทางธุรกิจ คนที่มีอำนาจซึ่งเป็นคุณอา บอ

มารู้จักกับ Student Syndrome และผลกระทบของมัน

Image
โรคนี้ผมเชื่อว่าทุกคนที่อ่านบทความนี้อยู่ไม่ว่าจะรุ่นไหนหรือผ่านไปกี่ปีก็ตาม ต้องเคยสัมผัสกับอาการของมันอย่างแน่นอน และบางคนอาจกำลังเป็นอยู่ด้วย ถูกต้องครับ มันคือ  Student Syndrome นั่นเอง Student Syndrome คือรูปแบบพฤติกรรมการผลัดวันประกันพรุ่งแบบหนึ่ง เป็นการตัดสินใจที่จะ "ไม่ทำ" งานที่ได้รับมอบหมายโดยเลื่อนมันออกไปจนกว่าจะถึงนาทีสุดท้าย (นาทีที่เดตไลน์และความชิบหายมาเคาะประตู และต้องเผางานเอาเป็นเอาตายนั่นแหละ) อาการแบบนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง มักจะเกิดขึ้นมากในกลุ่มคนที่มีความรับผิดชอบต่ำกว่าคนทั่วๆไป ซึ่งมักจะไม่ค่อยวางแผนอะไรในชีวิตซักเท่าไร(หรือไม่ก็วางเป้าหมายไว้สูงมากแต่จัดการวางแผนเวลาไม่เป็น) โดยพอเดตไลน์มาถึง คนกลุ่มนี้มักจะหาวิธีที่จะเลื่อนเดตไลน์ออกไปเสมอ ผลกระทบของมัน คือเรื่อง Productivity ครับ และมักเกี่ยวข้องไปถึง Passion ในการทำงานด้วย หลายครั้งงานที่เราเลื่อนออกไปคืองานที่เราไม่ชอบ หรืองานที่เราคิดว่าทำแล้วจะเครียด พอเลื่อนไปทำใกล้ๆเดตไลน์ ความฉิบหายก็บังเกิด ยิ่งเป็นงานที่ต้องทำเป็นทีม ยิ่งฉิบหายเป็นลูกโซ่เลยครับ ผมเชื่อว่า

Internet บ้านกับการแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดของผู้ให้บริการ

เชื่อว่าแทบทุกคนที่อ่านบทความนี้หรือรับรู้บทความนี้มี Internet บ้าน ไม่ว่าจะติดเองที่บ้านหรือใช้เน็ตส่วนกลางของหอพัก อพาร์ทเมนต์ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้เน็ตบ้านมาแชร์กันนั่นแหละ) อุดมคติของทุกคนคืออยากใช้ Internet ของผู้ให้บริการที่ดีที่สุดในพื้นที่ เร็วที่สุด เสถียรที่สุด เห็นได้จากโปรโมชั่นต่างๆของผู้ให้บริการที่ออกมาแข่งขันกันแบบดุเดือด ชูโรงทั้งเรื่องความเร็วและเทคโนโลยีที่ใช้ แถมยังมีบริการพิเศษอื่นๆพ่วงเข้ามาอีกเยอะแยะมากมาย หลายๆผู้ให้บริการโฟกัสที่ว่า "เราต้องเร็วที่สุด" "ถูกที่สุด" "เทคโนโลยีดีที่สุด" ลูกค้าถึงจะมาใช้บริการ ผมไม่เห็นผู้บริการเจ้าไหนออกมาเน้นว่าเราให้บริการ Internet ที่ "เสถียรที่สุด" ซักเจ้า ซึ่งในมุมมองผม นี่แหละคือจุดที่ผู้ให้บริการสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ====================================== จากประสบการณ์ตรงของผมที่ทำงานเป็น Network Admin ของกิจการอพาร์ทเมนต์ที่บ้านผม แน่นอนว่าผมให้ความสำคัญกับความเสถียรของ Internet เป็นอย่างมาก โดยผูกพันธ์กับ Internet ค่ายสีส้มมานานหลายปี(

การตัดสินใจที่ยากที่สุด

การจะลงทุนอะไรซักอย่าง การตัดสินใจหลักๆผมว่าคงไม่พ้น "ตัดสินใจซื้อ" กับ "ตัดสินใจขาย" ซื้อหรือไม่ซื้อ ขายหรือไม่ขาย หลักๆไม่ว่าจะมือใหม่ มือโปร สายเทคนิค สายคุณค่า มันก็วนๆอยู่แค่นี้แหละ (ผมมองการตัดใจถือคือการ "ไม่ขาย" นะครับ) การตัดสินใจที่ยากที่สุด หลายคนอาจมองว่าคือ "การซื้อ" บ้างก็ว่าเพราะต้องดูพื้นฐานเยอะแยะไปหมด บ้างก็ว่าต้องรอสัญญาณทางเทคนิค บ้างก็ว่าเพราะความกลัวดอยของตัวนักลงทุนเอง แต่ผมกลับมองว่า "การซื้อ" ไม่ยากเท่า "การขาย" การซื้อเราใช้ข้อมูลที่ผ่านมาแล้วเป็นหลักในการประเมิน ทั้งเรื่องมูลค่าบริษัท งบการเงิน สัญญาณทางเทคนิค บทวิเคราะห์จากโบรคเกอร์(ซึ่งก็ต้องวิเคราะห์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแล้วประเมินต่อไปในอนาคต) เราใช้อดีตเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ในการตัดสินใจซื้อ แล้วการขายล่ะ โดยส่วนมากแล้วเรามักจะขายหุ้นทิ้งกันแบบไม่ค่อยมีเหตุมีผล แต่ผมว่าการขายทิ้งส่วนใหญ่มีพื้นฐานจากความกังวลเกี่ยวกับอนาคต กลัวดอย กลัวบริษัทเจ๊ง คาดการณ์ว่ากำไรจะลดลง กลัววิกฤติเศรษฐกิจ กลัวความผันผวนของหุ้น เปลี่ยนไปถือสินทรัพย์อื