Posts

Showing posts from 2016

Stocklog 281216 ข้อคิดจากการ IPO ของหุ้น AU

หลังจากเกิดปรากฎการณ์บวก 200% จากราคา IPO ใน 2 วันของหุ้น AU หรือ After You ซึ่งแม้หลังจากสองวันแรกราคาจะไหลลงเรื่อยๆก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหุ้นตัวนี้ "กระแสแรง" จริงๆ จากราคา IPO ที่ 4.50 บาท ณ พาร์ 0.10 ต่ำที่สุดเท่าที่ตลาดยอมให้ได้ ราคาพุ่งถึงจุดสูงสุดที่ 15.20 บาท ณ PE สูงกว่า 100 เท่า ซึ่งส่วนตัวผมเองนั้นรู้สึกว่าหุ้นตัวนี้แพงพอสมควรตั้งแต่ราคา IPO ซึ่งตอนนั้น PE ก็ประมาณ 30 เท่าแล้ว การขึ้นมาชน Ceiling ในวันแรกและยังพุ่งต่อในวันที่สอง นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าประหลาดใจและบ่งบอกถึงความคาดหวังแรงกล้าต่อบริษัทของนักลงทุน ตั้งแต่ผมเริ่มลงทุนมา ต้องยอมรับเลยว่าหุ้นตัวนี้มีสตอรี่ค่อนข้างมาก รวมถึงกระแสดราม่าในหมู่นักลงทุนซึ่งถกเถียงกันเอาเป็นเอาตายเรื่องอนาคตของกิจการคาเฟ่ขนมหวานของบริษัท ซึ่งช่วงนั้นเด้งกันเต็มฟีดบน Facebook ของผม อ่านไปก็เฮฮาบันเทิงกันไป แม้คนเริ่มประเด็นแทบจะด่ากันเองในบางโพสก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนมักให้ความเป็นห่วงเรื่องสินค้าที่ลอกเลียนแบบกันได้ไม่ยากนัก รวมถึงเรื่องกระแสของผู้บริโภคซึ่งบางคนให้ความเห็นว่าในระยะยาวกระแสที่อุ้มชูบริษัทจะหมดไ

Stocklog 011216 ส่องหุ้น MAJOR อีกครั้ง

นับเป็นเรื่องไม่ธรรมดาเท่าไรที่พ่อผมจะส่งไลน์มาบอกสัญญาณทางเทคนิคของหุ้นที่ผมมองๆอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง MAJOR ผมกับพ่อนับว่าเป็นนักลงทุนที่ใช้กลยุทธ์ต่างกันแบบคนละขั้วเลยทีเดียว พ่อผมเป็นสาย Technical ซื้อขายตามสัญญาณทางเทคนิค ในขณะที่ผมเป็น VI ซื้อตามพื้นฐานบริษัทและถือไปเรื่อยๆจนกว่าพื้นฐานบริษัทจะแย่ลงถาวร MAJOR เป็นหุ้นตัวแรกๆที่ผมได้ลองวิเคราะห์ตอนอายุ 19 (ถ้าผมจำไม่ผิด) ก่อนที่ผมจะอายุถึงเกณฑ์เปิดพอร์ทตัวเองได้ ผมเห็นภาพบริษัทที่กำลังจะก้าวออกไปนอกประเทศ มีฐานลูกค้าแข็งแกร่ง มีแผนขยายธุรกิจที่ดูแล้วเป็นไปได้ สรุปสั้นๆคือแทบทุกอย่างที่ MAJOR เป็นในวันนี้ เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าบริษัทจะทำได้เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว วันนั้นผมแนะนำพ่อผมให้ซื้อ ณ ราคาเวลานั้นประมาณ 19 บาท ซึ่งแน่นอนครับ ตอนนั้นผมพูดให้ใครฟังไม่มีคนเชื่อผม ณ วันที่เขียนบทความนี้ MAJOR ซื้อขายที่ราคาหุ้นละประมาณ 32 บาท มีแผนขยายธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV ต่อ และมีแผนขยายสาขาในไทย ตามความเห็นผม โรงหนังแทบจะเป็นสิ่งที่โตไปตามการขยายตัวของเมืองและห้างเลยครับ ตราบใดที่ Central ยังมีแผนขยายสาขา ผมก็เชื่อว่าโรงหนังส่ว

จริยธรรม 101 (จากมุมนักลงทุน)

เมื่อเร็วๆนี้หลายท่านคงได้ข่าวการจัดการโบรคเกอร์โดยผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นอัยการและเป็นผู้เสียหายจากการโดนพนักงานโบรกเกอร์ตัดเงินจากบัตรเครดิตเป็นค่าประกันโดยไม่ยินยอม แต่เธอสู้เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างไม่ให้คนอื่นๆโดนลูกไม้เดียวกันนี้อีก ซึ่งผมถึงกับต้องแชร์ลงเพจเพื่อเป็นกรณีศึกษาเลยทีเดียว เรื่องนี้ได้เน้นย้ำถึงแนวคิดการเลือกหุ้นลงทุนของผมเองข้อนึง นั่นคือ "อย่าลงทุนในบริษัทที่บกพร่องในเรื่องจริยธรรม" ในกรณีของโบรคเกอร์ประกันภัยที่เป็นข่าวนั้น นั่นเป็นเพียงการกระทำที่บกพร่องด้านจรรยาบรรณและจริยธรรมจาก "พนักงาน" ภายในบริษัท ซึ่งก็สร้างความเสียหายลามไปแทบทุกบริษัทในวงการ ลองคิดดูว่าถ้าคนที่บกพร่องด้านจริยธรรมกลับเป็นระดับผู้บริหารซึ่งเป็นผู้กำหนดทิศทางของบริษัท ภาพลักษณ์ของบริษัทจะป่นปี้เป็นตราบาปได้ขนาดไหน หลายๆบริษัทที่มีประวัติต่อเนื่องเรื่องการบกพร่องด้านจริยธรรม ไม่ว่าจะเรื่องการผูกขาด ปั่นหุ้นในตลาด หรือเลวร้ายสุดคือเล่นวิธีการตลาดสกปรกเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดแม้กระทั่งการโกหกลูกค้าตัวเอง บริษัทเหล่านี้ไม่ว่าผลประกอบการดียังไง โบรคเกอร์เชียร์ขนาดไหน ผมจะไม่ซื

ความผันผวนของหุ้นกับพฤติกรรมนักลงทุน

Image
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทุกคนรับรู้ถึงการสูญเสียครั้งสำคัญของชาติ นั่นคือการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ช่วงเวลาดังกล่าวตลาดหุ้นมีความผันผวนรุนแรงมาก ซึ่งหากใครเปิดตลาดดูคงได้เห็นปรากฎการณ์หุ้นแดงทั้งตลาด ภาพจาก SetSmart อาจเรียกได้ว่าความผันผวนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นบททดสอบนักลงทุนโดยแท้ โดยเฉพาะนักลงทุนสาย VI ที่มีความตั้งใจในการลงทุนระยะยาว โดยส่วนตัวแล้ว ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ผมงานยุ่งมากจนไม่ได้เปิดตลาดหลายวันติดต่อกัน จากกราฟที่ออกมา ผมเชื่อว่าในตลาดเวลานั้นมีทั้ง "คนกลัว" และ "คนกล้า" โดยคนที่กลัวจนรีบขายหุ้นอาจเสียหายไปมากมาย ในขณะที่คนกล้าซื้ออาจกำไรมหาศาลในช่วงเวลาผันผวนที่ผ่านมา คำถามคือ ความผันผวนที่ผ่านมาส่งผลต่อความสามารถในการประกอบกิจการของบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ ผมเชื่อว่ามีผลบ้าง แต่ไม่ใช่ระยะยาว และไม่ใช่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมแน่ จริงอยู่ที่บางอุตสาหกรรมอย่าง media อาจมีผลกระทบไปบ้างในช่วงสั้นๆนี้ หรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาจมีผลบ้างจากบรรยากาศที่เปลี่ยนไปแบบกระทันหัน แต่ผมก็เชื่อว่านี่ไม่ใช่ผลกระ

ยุคสมัยแห่ง Robot

การเกิดของ Startup กลุ่ม FinTech จำนวนมาก กลายเป็นอัตราเร่งในการพัฒนา Artificial Intelligence หรือ AI และเร่งอัตราการผลักดัน Robot จากกลุ่มสถาบันการเงินสู่กลุ่มที่ Mass กว่าอย่างนักลงทุนทั่วไปอย่างเราๆ จากการที่ผมศึกษาในสายเทคโนโลยีสารสนเทศ ผมจึงรู้ทั้งจากเพื่อนและพี่ๆว่าสถาบันการเงินนั้นพัฒนา Robot สำหรับใช้ช่วยเทรดพอร์ทกองทุนมานานหลายปีแล้ว ตั้งแต่ก่อนช่วง Startup บูมเสียอีก เพียงแต่ระบบในช่วงนั้นมันซับซ้อนวุ่นวายและต้องใช้ทรัพยากรบุคคลจำนวนมากในการคอยดูแลมัน อีกทั้งคนใช้ยังต้องเชี่ยวชาญ จึงเป็นระบบที่ยังไม่เหมาะกับนักลงทุนทั่วไปเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม อัตราการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยนี้เร็วมาก เราเห็น FinTech Startup มากมายนำความรู้ด้าน AI มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ใช้งานได้ง่าย เข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยอัตราการพัฒนาระดับนี้ ผมเชื่อว่า Robot จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนแทบทุกแนวแน่นอน แต่เป็นรูปแบบที่ใช้ Robot "ช่วย" การลงทุนไม่ใช่แทนที่การตัดสินใจของนนักลงทุน ผมเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากมานั่งเฝ้าจอเปิดต

ปริญญาโทวันแรก กับคำถามที่ไม่ควรเกิดในเวลานี้

มันคงเป็นเรื่องปกติกับความรู้สึกเกร็งๆเวลาเราเริ่มทำอะไรใหม่ๆ เริ่มเรียนที่ใหม่ ทำงานที่ใหม่ ย้ายบ้านใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตัดสินใจไปเรียนปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติของผม จากสังคมปริญญาตรีที่ตารางเรียนแทบจะเหมือนเพื่อน อยู่กับเพื่อนที่เป็นคนไทย ก้าวไปสู่สังคมที่ครึ่งคลาสเป็นคนจากหลากหลายชาติ แถมตารางเรียนผมซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรเรียนควบ 4+1 เพียงคนเดียวในห้อง ดันเรียนไม่เท่าเพื่อนในคลาส เท่านั้นไม่พอ เพื่อนต่างชาติบางคนคุยกันเหมือนจะรู้จักกันมาก่อนเป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ประกอบกับสำเนียงภาษาอังกฤษที่ผมไม่เคยได้ยิน ไม่คุ้นเคย กลายเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงด้านการสื่อสารในวันแรก ทั้งหมดกลายเป็นแรงกดดันมหาศาลที่ทำให้ผมรู้สึกเหมือนถูก isolated ออกมา ผมไม่ใช่คนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีนัก แต่ก็ไม่ได้แย่ เท่าที่ใช้มาก็สื่อสารได้รู้เรื่อง และจากการสอบ TOEIC ที่ได้คะแนนมา 855 ในการสอบครั้งแรกที่ไม่ได้เตรียมตัว ก็บ่งบอกว่าด้านอ่านและฟังผมก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่ผมเปิดตัวด้วยการไม่เข้าใจสิ่งที่เพื่อนชาวยูกันดาพูด เข้าใจซึ้งถึงความหมายของคำว่า Shit just got real เลยทีเดียว ผมจำไม่ได้ว่าพูดอะไ

Digital Disruption กับการปรับตัวของธุรกิจ

เมื่อเทคโนโลยีต่างๆพัฒนาอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อรูปแบบการทำธุรกิจ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ณ โมเมนต์นี้ ธุรกิจทุกระดับจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา การหยุดพัฒนาในยุคนี้มีค่าเท่ากับการเดินถอยหลัง ในอดีตเราอาจเคยได้ยินถึงเรื่องราวการอพยพของชาวจีนที่มาตัวเปล่าแล้วประสบความสำเร็จ (ที่เขาพูดกันว่าเสื่อผืนหมอนใบนั่นแหละ) การทำธุรกิจแบบช้าแต่มั่นคงซึ่งหลายคนในปัจจุบันก็คงฝันหวานถึงการทำธุรกิจแบบนั้นและประสบความสำเร็จ โอกาสของธุรกิจยุคที่แล้วคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลของลูกค้า เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองอยากได้นั้นมีผลิตที่ไหน ขายที่ไหน ง่ายที่สุดคือไปหาคนที่เอาของพวกนี้มาขาย เพียงแค่เรารู้ว่ามีอะไรที่ลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่นั้นต้องการแต่ไม่มีใครเอามาขาย นั่นก็เป็นโอกาสเราแล้ว ยิ่งสินค้านั้นมีความเฉพาะหรือมี Barrier สูงเท่าไร ลูกค้ายิ่งไม่มีทางเลือกมากนัก เจ้าของธุรกิจแทบจะเรียกได้ว่า อยู่เฉยๆเตรียมของไว้ก็ได้กำไรสบายๆ ทีนี้กลับมาที่โลกยุคปัจจุบัน โลกที่ Internet มีอิทธิพลสูงมากในชีวิตประจำวัน โลกที่การสื่อสารครอบคลุมแทบทั้งโลก รู้ถึงรู้ทันกันหมด ลู

Criteria ในการซื้อหุ้น

Image
ผมเชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้น เข้ามาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่ละคนมักจะมีนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ซักคนเป็นไอดอล แต่เชื่อมั้ยครับ ไม่ว่าเราจะมีใครเป็นไอดอลก็ตาม เราจะมี Criteria ในการตัดสินใจซื้อหุ้นที่ไม่เหมือนกับคนที่เรามองว่าเป็นไอดอลแน่นอน Business photograph designed by Pressfoto - Freepik.com อย่างที่ผมกล่าวไว้ตอนแรก ทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นย่อมมีเหตุผลที่เข้ามาอยู่แล้ว บางคนอาจต้องการเข้ามาเก็งกำไร บางคนอาจต้องการสร้างกระแสเงินสด บางคนอยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากธนาคาร คนเรามีเหตุผลสารพัดแบบในการเอาเงินมาลงทุน เหตุผลเหล่านั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แต่ละคนลงทุนโดยมีเงื่อนไขการตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน และโดยส่วนใหญ่ไม่เหมือนแม้กระทั่งกับคนที่เป็นไอดอลของตัวเองด้วย ผมเองเข้ามาในตลาดโดยเชื่อมั่นในการลงทุนแนวเน้นคุณค่า แน่นอนครับว่าผมมี Warren Buffett เป็นไอดอลแน่นอนแต่ผมสามารถบอกได้เลยว่าจุดประสงค์ในการลงทุนของผมกับ Warren Buffett ไม่เหมือนกัน ในขณะที่การลงทุนของ Warren Buffett จะเน้นที่มูลค่า โดยเชื่อว่าการนำกำไรกลับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) เพื่อเพิ่ม

เมื่อการตัดสินใจผิดเพี้ยนไปเพราะ Information Overload

Image
ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งในบรรดาเทคโนโลยีที่มนุษย์พัฒนาขึ้นคือ มันทำให้เราเปลี่ยนโลกธุรกิจที่เดิมเราแทบไม่รู้อะไรเลยให้กลายเป็นโลกที่เรารู้มันทุกสิ่งอย่างจนมากเกินไป ในเวลาแค่ประมาณ 20 ปี ยุคสมัยนี้มีคำกล่าวที่ว่า ข้อมูลเปรียบเสมือนบ่อน้ำมัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลที่เดิมพวกเราคิดว่ามันไม่มีค่า มันสร้างความได้เปรียบมากมายในโลกธุรกิจสำหรับคนที่เห็นค่ามันและไม่ตกอยู่ในด้านมืดของมัน หากการรู้ข้อมูลมากมายสร้างโอกาสและมุมมองให้กับธุรกิจเป็นด้านสว่าง อีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นด้านมืดของมันคงเป็นการรับข้อมูลมากๆและจัดการไม่ได้จนมันส่งผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ตัวอย่างของ Information Overload แบบใกล้ตัวผม ก็เป็นเรื่องธุรกิจอพาร์ทเมนต์ที่ครอบครัวผมทำนี่แหละครับ หากจำปี 54 ที่น้ำท่วมได้ หลายๆคนคงจำได้ว่ามีเหตุการณ์ย้ายฐานการผลิตหลายโรงงานเป็นจำนวนมาก หลายๆที่ถึงกับเลิกกิจการเลยก็มี ซึ่งกิจการทางบ้านของผม ได้รับผลกระทบจาก Demand ที่ลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในความคิดผม นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหาครับ ครอบครัวผมค่อนข้างเฉื่อยมากในการตัดสินใจทางธุรกิจ คนที่มีอำนาจซึ่งเป็นคุณอา บอ

มารู้จักกับ Student Syndrome และผลกระทบของมัน

Image
โรคนี้ผมเชื่อว่าทุกคนที่อ่านบทความนี้อยู่ไม่ว่าจะรุ่นไหนหรือผ่านไปกี่ปีก็ตาม ต้องเคยสัมผัสกับอาการของมันอย่างแน่นอน และบางคนอาจกำลังเป็นอยู่ด้วย ถูกต้องครับ มันคือ  Student Syndrome นั่นเอง Student Syndrome คือรูปแบบพฤติกรรมการผลัดวันประกันพรุ่งแบบหนึ่ง เป็นการตัดสินใจที่จะ "ไม่ทำ" งานที่ได้รับมอบหมายโดยเลื่อนมันออกไปจนกว่าจะถึงนาทีสุดท้าย (นาทีที่เดตไลน์และความชิบหายมาเคาะประตู และต้องเผางานเอาเป็นเอาตายนั่นแหละ) อาการแบบนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง มักจะเกิดขึ้นมากในกลุ่มคนที่มีความรับผิดชอบต่ำกว่าคนทั่วๆไป ซึ่งมักจะไม่ค่อยวางแผนอะไรในชีวิตซักเท่าไร(หรือไม่ก็วางเป้าหมายไว้สูงมากแต่จัดการวางแผนเวลาไม่เป็น) โดยพอเดตไลน์มาถึง คนกลุ่มนี้มักจะหาวิธีที่จะเลื่อนเดตไลน์ออกไปเสมอ ผลกระทบของมัน คือเรื่อง Productivity ครับ และมักเกี่ยวข้องไปถึง Passion ในการทำงานด้วย หลายครั้งงานที่เราเลื่อนออกไปคืองานที่เราไม่ชอบ หรืองานที่เราคิดว่าทำแล้วจะเครียด พอเลื่อนไปทำใกล้ๆเดตไลน์ ความฉิบหายก็บังเกิด ยิ่งเป็นงานที่ต้องทำเป็นทีม ยิ่งฉิบหายเป็นลูกโซ่เลยครับ ผมเชื่อว่า

Internet บ้านกับการแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดของผู้ให้บริการ

เชื่อว่าแทบทุกคนที่อ่านบทความนี้หรือรับรู้บทความนี้มี Internet บ้าน ไม่ว่าจะติดเองที่บ้านหรือใช้เน็ตส่วนกลางของหอพัก อพาร์ทเมนต์ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้เน็ตบ้านมาแชร์กันนั่นแหละ) อุดมคติของทุกคนคืออยากใช้ Internet ของผู้ให้บริการที่ดีที่สุดในพื้นที่ เร็วที่สุด เสถียรที่สุด เห็นได้จากโปรโมชั่นต่างๆของผู้ให้บริการที่ออกมาแข่งขันกันแบบดุเดือด ชูโรงทั้งเรื่องความเร็วและเทคโนโลยีที่ใช้ แถมยังมีบริการพิเศษอื่นๆพ่วงเข้ามาอีกเยอะแยะมากมาย หลายๆผู้ให้บริการโฟกัสที่ว่า "เราต้องเร็วที่สุด" "ถูกที่สุด" "เทคโนโลยีดีที่สุด" ลูกค้าถึงจะมาใช้บริการ ผมไม่เห็นผู้บริการเจ้าไหนออกมาเน้นว่าเราให้บริการ Internet ที่ "เสถียรที่สุด" ซักเจ้า ซึ่งในมุมมองผม นี่แหละคือจุดที่ผู้ให้บริการสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ====================================== จากประสบการณ์ตรงของผมที่ทำงานเป็น Network Admin ของกิจการอพาร์ทเมนต์ที่บ้านผม แน่นอนว่าผมให้ความสำคัญกับความเสถียรของ Internet เป็นอย่างมาก โดยผูกพันธ์กับ Internet ค่ายสีส้มมานานหลายปี(