Posts

Showing posts with the label หุ้น

เหตุผลที่ผลักดันให้เราเริ่มชีวิตการลงทุน

สำหรับเด็กปี4 อย่างผมซึ่งเป็นส่วนน้อยที่มีความรู้ด้านการลงทุนสูงกว่าเพื่อนร่วมรุ่นอย่างมาก มักจะโดนขอให้ช่วยแนะนำการลงทุนแก่เพื่อนๆที่ต่างก็เริ่มสนใจศาสตร์ด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ผมว่าคงเป็นเรื่องปกติของยุคสมัยนี้ละมั้ง พอพวกเราใกล้เรียนจบต้องไปทำงานรับเงินเดือนหรือบางคนอาจมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เราจะเริ่มหาลู่ทางทำเงินให้งอกเงย ซึ่งเป็น mindset ที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนมาก ผมคิดว่าเหตุผลักดันให้แต่ละคนเริ่มสนใจด้านการลงทุนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนลงทุนเพราะเริ่มวางแผนเกษียณ บางคนอยากรวย บางคนอาจแค่อยากเห็นเงินงอกงามดีกว่าการเอาไปฝากธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด นี่เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนชุดความคิดที่เรามีต่อการลงทุน เรามักไม่ค่อยทุ่มเทกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าเรามองว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ปัจจัยที่ critical กับตัวเอง เราจึงเห็นว่านักลงทุนมักจะมีกลุ่มที่ทุ่มเทศึกษามันอย่างมากกว่าจะกดซื้อหุ้นซักตัวกับกลุ่มที่ไม่รู้อะไรแล้วซื้อตามโพยผีบอกที่ไม่รู้ว่ามาจากไหน "ลงทุนเพื่ออะไร" เป็นคำถามที่ผมถามเพื่อนทุกคนที่มาขอคำแนะนำเรื่องการลงทุนจากผม ผมเชื่อว่าหากเขาตอบคำถามนี้ได้ แสดงว่าเขามีแรงผลักดันที่ไม

Stocklog 281216 ข้อคิดจากการ IPO ของหุ้น AU

หลังจากเกิดปรากฎการณ์บวก 200% จากราคา IPO ใน 2 วันของหุ้น AU หรือ After You ซึ่งแม้หลังจากสองวันแรกราคาจะไหลลงเรื่อยๆก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหุ้นตัวนี้ "กระแสแรง" จริงๆ จากราคา IPO ที่ 4.50 บาท ณ พาร์ 0.10 ต่ำที่สุดเท่าที่ตลาดยอมให้ได้ ราคาพุ่งถึงจุดสูงสุดที่ 15.20 บาท ณ PE สูงกว่า 100 เท่า ซึ่งส่วนตัวผมเองนั้นรู้สึกว่าหุ้นตัวนี้แพงพอสมควรตั้งแต่ราคา IPO ซึ่งตอนนั้น PE ก็ประมาณ 30 เท่าแล้ว การขึ้นมาชน Ceiling ในวันแรกและยังพุ่งต่อในวันที่สอง นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าประหลาดใจและบ่งบอกถึงความคาดหวังแรงกล้าต่อบริษัทของนักลงทุน ตั้งแต่ผมเริ่มลงทุนมา ต้องยอมรับเลยว่าหุ้นตัวนี้มีสตอรี่ค่อนข้างมาก รวมถึงกระแสดราม่าในหมู่นักลงทุนซึ่งถกเถียงกันเอาเป็นเอาตายเรื่องอนาคตของกิจการคาเฟ่ขนมหวานของบริษัท ซึ่งช่วงนั้นเด้งกันเต็มฟีดบน Facebook ของผม อ่านไปก็เฮฮาบันเทิงกันไป แม้คนเริ่มประเด็นแทบจะด่ากันเองในบางโพสก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนมักให้ความเป็นห่วงเรื่องสินค้าที่ลอกเลียนแบบกันได้ไม่ยากนัก รวมถึงเรื่องกระแสของผู้บริโภคซึ่งบางคนให้ความเห็นว่าในระยะยาวกระแสที่อุ้มชูบริษัทจะหมดไ

Stocklog 011216 ส่องหุ้น MAJOR อีกครั้ง

นับเป็นเรื่องไม่ธรรมดาเท่าไรที่พ่อผมจะส่งไลน์มาบอกสัญญาณทางเทคนิคของหุ้นที่ผมมองๆอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง MAJOR ผมกับพ่อนับว่าเป็นนักลงทุนที่ใช้กลยุทธ์ต่างกันแบบคนละขั้วเลยทีเดียว พ่อผมเป็นสาย Technical ซื้อขายตามสัญญาณทางเทคนิค ในขณะที่ผมเป็น VI ซื้อตามพื้นฐานบริษัทและถือไปเรื่อยๆจนกว่าพื้นฐานบริษัทจะแย่ลงถาวร MAJOR เป็นหุ้นตัวแรกๆที่ผมได้ลองวิเคราะห์ตอนอายุ 19 (ถ้าผมจำไม่ผิด) ก่อนที่ผมจะอายุถึงเกณฑ์เปิดพอร์ทตัวเองได้ ผมเห็นภาพบริษัทที่กำลังจะก้าวออกไปนอกประเทศ มีฐานลูกค้าแข็งแกร่ง มีแผนขยายธุรกิจที่ดูแล้วเป็นไปได้ สรุปสั้นๆคือแทบทุกอย่างที่ MAJOR เป็นในวันนี้ เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าบริษัทจะทำได้เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว วันนั้นผมแนะนำพ่อผมให้ซื้อ ณ ราคาเวลานั้นประมาณ 19 บาท ซึ่งแน่นอนครับ ตอนนั้นผมพูดให้ใครฟังไม่มีคนเชื่อผม ณ วันที่เขียนบทความนี้ MAJOR ซื้อขายที่ราคาหุ้นละประมาณ 32 บาท มีแผนขยายธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV ต่อ และมีแผนขยายสาขาในไทย ตามความเห็นผม โรงหนังแทบจะเป็นสิ่งที่โตไปตามการขยายตัวของเมืองและห้างเลยครับ ตราบใดที่ Central ยังมีแผนขยายสาขา ผมก็เชื่อว่าโรงหนังส่ว

ความผันผวนของหุ้นกับพฤติกรรมนักลงทุน

Image
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทุกคนรับรู้ถึงการสูญเสียครั้งสำคัญของชาติ นั่นคือการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ช่วงเวลาดังกล่าวตลาดหุ้นมีความผันผวนรุนแรงมาก ซึ่งหากใครเปิดตลาดดูคงได้เห็นปรากฎการณ์หุ้นแดงทั้งตลาด ภาพจาก SetSmart อาจเรียกได้ว่าความผันผวนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นบททดสอบนักลงทุนโดยแท้ โดยเฉพาะนักลงทุนสาย VI ที่มีความตั้งใจในการลงทุนระยะยาว โดยส่วนตัวแล้ว ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ผมงานยุ่งมากจนไม่ได้เปิดตลาดหลายวันติดต่อกัน จากกราฟที่ออกมา ผมเชื่อว่าในตลาดเวลานั้นมีทั้ง "คนกลัว" และ "คนกล้า" โดยคนที่กลัวจนรีบขายหุ้นอาจเสียหายไปมากมาย ในขณะที่คนกล้าซื้ออาจกำไรมหาศาลในช่วงเวลาผันผวนที่ผ่านมา คำถามคือ ความผันผวนที่ผ่านมาส่งผลต่อความสามารถในการประกอบกิจการของบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ ผมเชื่อว่ามีผลบ้าง แต่ไม่ใช่ระยะยาว และไม่ใช่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมแน่ จริงอยู่ที่บางอุตสาหกรรมอย่าง media อาจมีผลกระทบไปบ้างในช่วงสั้นๆนี้ หรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาจมีผลบ้างจากบรรยากาศที่เปลี่ยนไปแบบกระทันหัน แต่ผมก็เชื่อว่านี่ไม่ใช่ผลกระ

ยุคสมัยแห่ง Robot

การเกิดของ Startup กลุ่ม FinTech จำนวนมาก กลายเป็นอัตราเร่งในการพัฒนา Artificial Intelligence หรือ AI และเร่งอัตราการผลักดัน Robot จากกลุ่มสถาบันการเงินสู่กลุ่มที่ Mass กว่าอย่างนักลงทุนทั่วไปอย่างเราๆ จากการที่ผมศึกษาในสายเทคโนโลยีสารสนเทศ ผมจึงรู้ทั้งจากเพื่อนและพี่ๆว่าสถาบันการเงินนั้นพัฒนา Robot สำหรับใช้ช่วยเทรดพอร์ทกองทุนมานานหลายปีแล้ว ตั้งแต่ก่อนช่วง Startup บูมเสียอีก เพียงแต่ระบบในช่วงนั้นมันซับซ้อนวุ่นวายและต้องใช้ทรัพยากรบุคคลจำนวนมากในการคอยดูแลมัน อีกทั้งคนใช้ยังต้องเชี่ยวชาญ จึงเป็นระบบที่ยังไม่เหมาะกับนักลงทุนทั่วไปเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม อัตราการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยนี้เร็วมาก เราเห็น FinTech Startup มากมายนำความรู้ด้าน AI มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ใช้งานได้ง่าย เข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยอัตราการพัฒนาระดับนี้ ผมเชื่อว่า Robot จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนแทบทุกแนวแน่นอน แต่เป็นรูปแบบที่ใช้ Robot "ช่วย" การลงทุนไม่ใช่แทนที่การตัดสินใจของนนักลงทุน ผมเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากมานั่งเฝ้าจอเปิดต

จริยธรรม(ของบริษัท)กับการเลือกหุ้นลงทุน

หากใครที่อ่านหนังสือการลงทุนแนว VI บ่อยๆ จะสังเกตได้ว่า หัวข้อหนึ่งที่เราต้องพิจารณาในขั้นตอนเลือกหุ้นและประเมินมูลค่าคือ จริยธรรมของผู้บริหารและบริษัท จริยธรรมเป็นเรื่องที่วัดและดูยากกว่ามูลค่าแท้จริงมากๆครับ เพราะมันเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ ประเมินออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ ไม่มีในงบการเงิน แต่เป็นสิ่งสำคัญที่หากเราพลาดก็อาจนำมาซึ่งหายนะได้เลย การซื้อหุ้นก็เหมือนการที่เราซื้อสิทธิ์เข้าไปเป็นหุ้นส่วนของบริษัทนั้นๆ(ในสัดส่วนตามจำนวนหุ้นที่เราถือ) เปรียบเหมือนเราเอาเงินเข้าไปลงทุนในกิจการนั้นๆ มันคงไม่ดีแน่ถ้าบริษัทที่เราเห็นคุณค่าและตัดสินใจร่วมลงทุน กลับคิดคดโกงผู้ถือหุ้น โดยปกติผมแบ่งจริยธรรมออกเป็น 3 หัวข้อคือ จริยธรรมต่อผู้ถือหุ้น จริยธรรมต่อลูกค้า จริยธรรมต่อพนักงานและลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น บริษัทที่ดีเมื่อมีกำไรและไม่มีแผนการลงทุนต่อควรมีการปันผลเป็นเงินสดคืนผู้ถือหุ้น หรือหากบริษัทมีแผนลงทุนเพิ่มเติม ก็ต้องเป็นการลงทุนที่บริษัทมี knowledge มีความพร้อม และมีอนาคต ในหลายๆครั้ง บริษัทอาจเก็บเงินไว้เพื่อเตรียม Take over บริษัทอื่น ซึ่งหากจริง เราก็ต้องดูด้วยนะครับว่าไป Take

ค่าเสียโอกาสกับการขาดทุน

เชื่อไหมครับ บางครั้งคนเราก็หน้ามืดกดเทรดหุ้นไปอย่างวู่วามและไร้เหตุผลที่ดีมารองรับ เพียงเพราะการคิดย้ำซ้ำไปมาในเรื่องของ "ค่าเสียโอกาส" สำหรับคนที่ไม่คุ้นนะครับ ค่าเสียโอกาสไม่ได้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เราเสียเงินหรือทรัพย์สินไปจริงๆ แต่หมายถึงโอกาสใดๆที่ผ่านเข้ามาแล้วเราไม่ได้คว้ามันเอาไว้ โดยปกติผมคิดว่ามันเป็น "ความรู้สึกเสียดาย" ซะมากกว่า จึงไม่แปลกนักที่ความรู้สึกเสียดายที่เรียกเป็นทางการว่าค่าเสียโอกาสนี้ จะส่งผลค่อนข้างมากต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นซึ่งส่วนมากมักจะพาเราติดดอยมากกว่าทำกำไร จริงอยู่ที่นักลงทุนทุกคนล้วนกลัวการขาดทุน แต่ในหลายๆคน กลับกลัวการเสียโอกาสมากกว่ากลัวขาดทุน บางครั้งพวกเขาเชื่อว่านี่เป็นโอกาสซึ่งถ้าไม่คว้าไว้ก็อาจจะไม่ได้เห็นโอกาสแบบนี้อีกนาน โดยส่วนมากความเข้าใจแบบนี้มักจะเกิดจากการหลงชอบหุ้นตัวนั้นๆ โดนเชียร์จากโบรคเกอร์ โดนเป่าหูไม่ว่าจะจากบทวิเคราะห์หรือคนรอบตัว บางครั้งอาจมาจากโพยผีบอกตามห้องไลน์หรือในอินเทอร์เน็ตด้วยซ้ำ ส่งผลให้พวกเขามักจะขาดทุนจากการเทรดเพราะโดนความอยากและความเสียดายบังตา ถ้าคุณคิดว่าหุ้น A จะโตต่อ วิธีหนึ่

การลืมตระหนักถึง "ความเสี่ยง"

Image
ผมได้คุยกับคุณพ่อเมื่อคืนเกี่ยวกับการลงทุน หากใครอ่านบทความแรกๆของผม(ซึ่งเขียนไม่ค่อยดีเท่าไรนัก) ผมจะมีบอกอยู่ว่าสไตล์การลงทุนของผมกับคุณพ่อนั้น ต่างกันคนละขั้วเลยก็ว่าได้ พ่อผม ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ นิยมเล่น TFEX และเป็นสาย Technical จ๋าเลยทีเดียว ในขณะที่ผมอ่านรายงาน วิเคราะห์งบและพื้นฐานบริษัทหาหุ้นหรือกองทุนดีๆในราคาที่ถูกกว่าพื้นฐานหรือที่ผมเห็นว่าสมเหตุสมผล ความแตกต่างนี้มักทำให้สองคนพ่อลูกปะทะคารมเรื่องการลงทุนเป็นประจำ จนกระทั่งเมื่อคืน พ่อผมเข้ามาเปิดประเด็นว่า "จะหาเงินซักล้านนึงมาเทรด TFEX" ผมถึงกับอึ้งไปเลย ที่อึ้งเพราะหลายปีก่อนหน้านั้นพ่อผมเพิ่งเอาเงินสองแสนที่ยืมญาติมาไปทำอะไรไม่รู้ในตลาดแต่รู้ว่าเงินสองแสนนั้นหายวับไปไหนก็ไม่รู้ คราวนี้คุณท่านมาพร้อมความมั่นใจที่สูงขึ้น และจำนวนเงินที่มากขึ้น แน่นอน ด้วยสไตล์การลงทุนของผม ผมไม่มองตลาด TFEX อยู่ในสายตาด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าคงไม่เทรด TFEX เองแน่ๆ ถ้าจะเทรดก็คงผ่านกองทุนรวม คืนนั้นเลยได้ปะทะคารมกันอีกรอบซึ่งทำให้ผมสัมผัสถึงบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเหตุให้ต้องมาเขียนบทความนี้ ตามภาพแล้ว TFEX นั้นแทบจะเป็

[การลงทุน] รู้ทันแชร์ลูกโซ่ด้วยความรู้ด้านการลงทุน

ช่วงนี้คงไม่มีแชร์ลูกโซ่ไหนดังกระหึ่มทั่วอินเทอร์เน็ตในไทยแรงยิ่งกว่า U-Fun อีกแล้ว กับยอดความเสียหายคิดเป็นตัวเงินนับพันล้าน ด้วยวิธีการหลอกลวงรูปแบบเดิมๆ ไหนๆก็เป็นข่าวดังแล้ว เอามาเป็นตัวอย่างดีกว่า แชร์ลูกโซ่ไม่ใช่ของใหม่ มีมานานมากแล้ว ในอดีตแชร์ที่ดังๆคงหนีไม่พ้นแชร์แม่ชม้อย แชร์น้ำมันอันโด่งดังในอดีต ซึ่งข้อมูลทั้งหลายสามารถอ่านได้ที่ th.wikipedia.org/wiki/คดีแชร์ชม้อย ที่น่าแปลกใจกว่าคือ วิธีการโกงเงินจากประชาชนนั้นหากพิจารณาดีๆจะพบว่า มาในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น ใครที่ตามอ่านบทความด้านการลงทุนของผม ผมมักจะเน้นที่ระบบความคิดและความเชื่อเสมอ ผมมักจะเน้นเรื่อง Performance ของบริษัทหรือหลักทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน ซึ่งต้องสมเหตุสมผลตามความเป็นจริง ทีนี้เรามาดูกันว่าอะไรทำให้ U-Fun ดูไม่สมเหตุสมผล 1. ผลตอบแทนต่อเดือน สูงมาก! ผมเองก็จำไม่ได้ว่าทางนั้นโฆษณาไว้เดือนละกี่เปอร์เซ็น คาดว่าประมาณ 6% ต่อเดือนถ้าผมจำไม่ผิด ยังไงก็ตาม ลองคิดดูครับว่าบริษัทต้องทำกำไรเดือนนึงมากขนาดไหนเพื่อให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 6% ต่อเดือนหรือกว่า 72% ต่อปี อย่าลืมนะครับว่าหุ้นนั้นคิดผลตอบแทน ต่อปี ไม่ใ

[การลงทุน] เทคนิคหาของถูกในเวลาที่ของแพงทั้งตลาด

ช่วงที่ผมเขียนบทความนี้ ตลาดหุ้นยังคง side way อยู่ประมาณ 1540 ได้ ซึ่งดูๆไปแล้วก็นับว่าราคาหุ้นตัวใหญ่ๆขึ้นมาสูงจนดูจะแพงเกินพื้นฐานไปมาก เรียกได้ว่าแพงแทบจะทั้งตลาดเลยทีเดียว อาจเป็นโชคหรือเป็นกรรม หรือทั้งสองอย่าง ที่ทำให้ผมเองดันเข้าตลาดมาในช่วงที่ "แพงทั้งตลาด" เหมือนเอาเงินมานอนเล่นในพอร์ทเฉยๆโดยไม่รู้จะซื้ออะไรเลยทีเดียว แต่แล้วเมื่อไม่นานมานี้ผมได้ค้นพบเทคนิคเล็กๆที่ช่วยให้ผมพอจะหา "ของดี" ในช่วงเวลาอย่างนี้ได้ แม้ของที่ได้มาจะไม่ถูก แต่ก็ไม่แพงจนเกินรับได้ เทียบกับหุ้นยอดนิยมช่วงนี้แล้ว ถือว่าถูกกว่าในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เขาว่ากันว่า โอกาสมักหาได้ง่ายในจุดที่ไม่ค่อยมีคนสนใจหรือมองข้ามมันไป เทคนิคของผมนั้นไม่มีอะไรมากครับ แค่มองในสิ่งที่คนทั่วไปเขาไม่มอง  ในเวลาอย่างงี้สิ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยมองช่วงนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นพวก อสังหาริมทรัพย์(กองทุนอสังหาที่เทรดในตลาด) กับหุ้นนอกกระแสตัวไม่ใหญ่หลายๆตัวในตลาด ผมค้นพบว่า หุ้นหรือกองทุนอสังหาหลายตัวในตลาด การซื้อขายเรียกได้ว่าทั้งวันอยู่แค่หลักแสน ราคาอยู่เท่าเดิมมาเป็นเดือนๆ(วิ่งขึ้นวิ่งลงน้อยมาก กราฟราคาแทบ