มารู้จักกับ Student Syndrome และผลกระทบของมัน

โรคนี้ผมเชื่อว่าทุกคนที่อ่านบทความนี้อยู่ไม่ว่าจะรุ่นไหนหรือผ่านไปกี่ปีก็ตาม ต้องเคยสัมผัสกับอาการของมันอย่างแน่นอน และบางคนอาจกำลังเป็นอยู่ด้วย

ถูกต้องครับ มันคือ  Student Syndrome นั่นเอง

Student Syndrome คือรูปแบบพฤติกรรมการผลัดวันประกันพรุ่งแบบหนึ่ง เป็นการตัดสินใจที่จะ "ไม่ทำ" งานที่ได้รับมอบหมายโดยเลื่อนมันออกไปจนกว่าจะถึงนาทีสุดท้าย (นาทีที่เดตไลน์และความชิบหายมาเคาะประตู และต้องเผางานเอาเป็นเอาตายนั่นแหละ)

อาการแบบนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง มักจะเกิดขึ้นมากในกลุ่มคนที่มีความรับผิดชอบต่ำกว่าคนทั่วๆไป ซึ่งมักจะไม่ค่อยวางแผนอะไรในชีวิตซักเท่าไร(หรือไม่ก็วางเป้าหมายไว้สูงมากแต่จัดการวางแผนเวลาไม่เป็น) โดยพอเดตไลน์มาถึง คนกลุ่มนี้มักจะหาวิธีที่จะเลื่อนเดตไลน์ออกไปเสมอ

ผลกระทบของมัน คือเรื่อง Productivity ครับ และมักเกี่ยวข้องไปถึง Passion ในการทำงานด้วย หลายครั้งงานที่เราเลื่อนออกไปคืองานที่เราไม่ชอบ หรืองานที่เราคิดว่าทำแล้วจะเครียด

พอเลื่อนไปทำใกล้ๆเดตไลน์ ความฉิบหายก็บังเกิด ยิ่งเป็นงานที่ต้องทำเป็นทีม ยิ่งฉิบหายเป็นลูกโซ่เลยครับ

ผมเชื่อว่าทุกคนเข้าใจดีว่างานเผาแบบทำ 2 วันติดต่อโดยไม่นอนมันออกมาแย่ขนาดไหน แล้วลองคิดดูครับ ถ้างานมันไม่จบที่เราแต่คนอื่นต้องเอางานเราไปทำต่อโดยมีเวลาน้อยลง(เพราะเราส่ง Late) มันจะเกิดอะไรขึ้น

ที่แย่กว่านั้นคือ มันเกิดขึ้นกับงานที่ "ไม่มีเดตไลน์" ด้วยครับ


ในการทำงานที่มีเดตไลน์ อาการนี้ทำให้คนเราเลื่อนวันทำงานไปเรื่อยๆจนสถานการณ์บังคับว่า "มึงต้องทำ" เราถึงเริ่มรู้สึกและไปเผางานทั้งน้ำตาได้ แต่กับงานที่ไม่มีเดตไลน์มากดดัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือคุณจะเลื่อนมันไปเรื่อยๆโดยไม่ทำมันซักที

งานที่ไม่มีเดตไลน์มากดดัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือคุณจะเลื่อนมันไปเรื่อยๆโดยไม่ทำมันซักที
วิธีแก้
การวางแผนให้ดีและพยายามบังคับตัวเองแก้ไขผลกระทบจากอาการนี้ได้ครับ จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ส่วนที่ยากที่สุด(และเป็นจุดก่อ Student Syndrome) คือการเริ่มต้นทำมันครับ

ผ่านจุดเริ่มต้นไปได้ เราก็ทำงานนั้นต่อไปได้คล่องขึ้นละครับ

Comments

Popular posts from this blog

การลืมตระหนักถึง "ความเสี่ยง"

โปรเจคจบกับโอกาสเติบโตสู่ Fintech Startup

ยุคสมัยแห่ง Robot