[Marketing] ข้อคิดการตลาดจากการไปสัมภาษณ์ฝึกงาน The internship

เจ้าของบล็อกก็เป็นคนนึงที่ยื่นสมัคร The internship สาขา Digital Marketing ไป และติดเข้ารอบสัมภาษณ์ซึ่งไปสัมภาษณ์มาวันนี้(วันที่เขียนบทความนี้)สดๆร้อนๆ

ขอเกริ่นก่อนว่า The internship เป็นโครงการฝึกงานที่หลายๆบริษัทร่วมกันจัดขึ้น จุดประสงค์ก็เพื่อคัดเลือกนักศึกษาไปฝึกงานตามสาขาที่สมัครนั่นแล โดยปีนี้ (2015) เป็นปีแรกที่จัด แกนหลักที่จัดก็ True นั่นเอง(ใครเคยไป True Incube จะรู้ดี)

ปีนี้รอบสัมภาษณ์ 100 คน(ซึ่งเอาจริงๆได้ยินว่าเรียกตัวสำรองมาเยอะเกิน 100 เหมือนกัน) สัมภาษณ์ที่ตึก AIA Capital Center แถวรัชดา รอบที่เจ้าของบล็อกได้คือ 13:15 ซึ่งเอาจริงๆกว่าจะได้สัมภาษณ์ก็นู่น เกือบบ่ายสอง
การสัมภาษณ์ ก็เหมือนทั่วๆไป ถามเกี่ยวกับการตลาดนิดๆหน่อยๆ ความเห็น ทัศนคติ แต่ที่เด็ดสุดคือคำถามที่เป็นสาเหตุให้เจ้าของบล็อกต้องเอามาเขียน

"สมมติ CP ขายข้าวกล่องติดกับร้านข้าวแกง ควรทำการตลาดยังไงให้คนขายข้าวแกงไม่รู้สึกอคติกับ CP" ถามประมาณนี้แหละ 

อึ้งสิครับ เจอคำถามนี้เข้าไป

ที่อึ้งเพราะ

  1. แม่งเรื่องจริงชัดๆ สมัยนี้เซเว่นขายข้าวกล่องสารพัดเมนู รายล้อมไปด้วยร้านข้าวแกงในบางสาขา
  2. คำถามนี้ ถ้าคิดดีๆเหมือนถามถึงวิธีการตลาดที่จะให้เรามองคู่แข่งเป็นมิตร
แม่งเป็นไปได้ในทางปฏิบัติซะที่ไหนล่ะ คำถามนี้ผมเอามาคิดในภายหลัง ค้นพบสัจธรรมอย่างหนึ่งของการตลาดเลยทีเดียว

ไม่ว่าเราจะทุ่มงบทำการตลาดมากขนาดไหนและวิธีใด เราไม่สามารถเปลี่ยนดำให้เป็นขาวได้
อย่างที่กล่าวไป ในทางปฏิบัติเราทำได้แค่ให้ภาพลักษณ์ดูดีขึ้น ลดความเป็นสีดำ(แต่ก็ยังมีความดำอยู่ดี) ไม่ว่าเราจะใช้งบประมาณมากขนาดไหน ใช้เทคนิคอะไร ใช้ช่องทางใด

คนขายข้าวแกงเขาก็รู้ว่า เซเว่นออกข้าวกล่องมาขาย มีผลต่อยอดขายข้าวแกงแน่ๆ ในทางธุรกิจถือเป็นคู่แข่ง ผมยังมองไม่เห็นว่าจะมีการตลาดแบบไหนที่สามารถทำให้คู่แข่งสองคนหันมาจับมือร้องเพลงสามัคคีชุมนุมพร้อมสัญญาว่าจะเป็นเพื่อนกัน ไม่แข่งขันกัน (ถ้ามีคนบอกว่าทำได้ ผมคิดว่าถ้าไม่โลกสวยก็ตอแหล แต่ถ้ามีเคสที่ทำได้จริงช่วงยืนยันมาทีนะครับ)

บางทีผมก็ไม่เข้าใจ ว่ากรรมการจะถามคำถามนี้มาทำไม ผมมองว่าเราแก้ภาพลักษณ์แบบนั้นโดยถาวรไม่ได้อยู่แล้ว แลดูมันไม่ค่อย make sense ยังไงไม่รู้ แต่เขาอาจจะต้องการวัดอะไรบางอย่างในตัวผู้เข้าสัมภาษณ์ก็ได้ละมั้ง

Comments

Popular posts from this blog

การลืมตระหนักถึง "ความเสี่ยง"

โปรเจคจบกับโอกาสเติบโตสู่ Fintech Startup

ยุคสมัยแห่ง Robot