Posts

Internet บ้านกับการแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดของผู้ให้บริการ

เชื่อว่าแทบทุกคนที่อ่านบทความนี้หรือรับรู้บทความนี้มี Internet บ้าน ไม่ว่าจะติดเองที่บ้านหรือใช้เน็ตส่วนกลางของหอพัก อพาร์ทเมนต์ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้เน็ตบ้านมาแชร์กันนั่นแหละ) อุดมคติของทุกคนคืออยากใช้ Internet ของผู้ให้บริการที่ดีที่สุดในพื้นที่ เร็วที่สุด เสถียรที่สุด เห็นได้จากโปรโมชั่นต่างๆของผู้ให้บริการที่ออกมาแข่งขันกันแบบดุเดือด ชูโรงทั้งเรื่องความเร็วและเทคโนโลยีที่ใช้ แถมยังมีบริการพิเศษอื่นๆพ่วงเข้ามาอีกเยอะแยะมากมาย หลายๆผู้ให้บริการโฟกัสที่ว่า "เราต้องเร็วที่สุด" "ถูกที่สุด" "เทคโนโลยีดีที่สุด" ลูกค้าถึงจะมาใช้บริการ ผมไม่เห็นผู้บริการเจ้าไหนออกมาเน้นว่าเราให้บริการ Internet ที่ "เสถียรที่สุด" ซักเจ้า ซึ่งในมุมมองผม นี่แหละคือจุดที่ผู้ให้บริการสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ====================================== จากประสบการณ์ตรงของผมที่ทำงานเป็น Network Admin ของกิจการอพาร์ทเมนต์ที่บ้านผม แน่นอนว่าผมให้ความสำคัญกับความเสถียรของ Internet เป็นอย่างมาก โดยผูกพันธ์กับ Internet ค่ายสีส้มมานานหลายปี(

การตัดสินใจที่ยากที่สุด

การจะลงทุนอะไรซักอย่าง การตัดสินใจหลักๆผมว่าคงไม่พ้น "ตัดสินใจซื้อ" กับ "ตัดสินใจขาย" ซื้อหรือไม่ซื้อ ขายหรือไม่ขาย หลักๆไม่ว่าจะมือใหม่ มือโปร สายเทคนิค สายคุณค่า มันก็วนๆอยู่แค่นี้แหละ (ผมมองการตัดใจถือคือการ "ไม่ขาย" นะครับ) การตัดสินใจที่ยากที่สุด หลายคนอาจมองว่าคือ "การซื้อ" บ้างก็ว่าเพราะต้องดูพื้นฐานเยอะแยะไปหมด บ้างก็ว่าต้องรอสัญญาณทางเทคนิค บ้างก็ว่าเพราะความกลัวดอยของตัวนักลงทุนเอง แต่ผมกลับมองว่า "การซื้อ" ไม่ยากเท่า "การขาย" การซื้อเราใช้ข้อมูลที่ผ่านมาแล้วเป็นหลักในการประเมิน ทั้งเรื่องมูลค่าบริษัท งบการเงิน สัญญาณทางเทคนิค บทวิเคราะห์จากโบรคเกอร์(ซึ่งก็ต้องวิเคราะห์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแล้วประเมินต่อไปในอนาคต) เราใช้อดีตเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ในการตัดสินใจซื้อ แล้วการขายล่ะ โดยส่วนมากแล้วเรามักจะขายหุ้นทิ้งกันแบบไม่ค่อยมีเหตุมีผล แต่ผมว่าการขายทิ้งส่วนใหญ่มีพื้นฐานจากความกังวลเกี่ยวกับอนาคต กลัวดอย กลัวบริษัทเจ๊ง คาดการณ์ว่ากำไรจะลดลง กลัววิกฤติเศรษฐกิจ กลัวความผันผวนของหุ้น เปลี่ยนไปถือสินทรัพย์อื

ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด

ผมชอบอ่านประวัติของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ นอกจากเรื่องที่ว่ามันจุดประกายและเป็นแรงบันดาลใจแล้ว มันยังสอนผมให้รู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรตัวนึงที่จำเป็นมากๆในการพัฒนาตนเอง(รวมถึงพัฒนาอย่างอื่น) นั่นคือ "เวลา" ผมมักจะมองว่าเวลาเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งที่เราต้อง "จ่าย" ออกไปเป็นต้นทุนในการพัฒนาและเป็นสิ่งที่เราต้องจ่ายออกไปตลอดทั้งวันทั้งคืน ผมจึงมองเวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่ามาก มีจำกัด และไม่สามารถควบคุมได้ และมันจำเป็นกับทุกๆอย่าง ทั้งการพัฒนา การทำงาน การใช้ชีวิต ผมค่อนข้างให้ความสำคัญกับการจัดสรรเวลามาก และไม่ชอบการทำงานที่ฉุกละหุกไปซะทุกอย่าง (โอเค เรื่องฉุกละหุกมันก็มีบ้างเวลาทำงาน แต่ไม่ใช่ฉุกเฉินแม่งทุกเรื่อง อันนั้นเกินไป) ผมมักจะวางแผนเพื่อใช้เวลาที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผมแล้ว ยิ่งผมรู้รายละเอียดของปัญหาที่ผมต้องแก้เร็วเท่าไร ยิ่งมีเวลาให้ผมศึกษาและแก้ไขมันได้มากเท่านั้น บุคคลที่ประสบความสำเร็จมีทั้งคนที่มีเวลามาก มีเวลาน้อย หลายคนเสียดายเวลาที่เสียไปในแต่ละช่วงชีวิต ยิ่งเราจัดสรรเวลาให้กับเรื่องเล็กเรื่องน้อยมากเท่าไร เรายิ่งมีเวลาจัดการเรื่

ช่องว่างของคอนโดและอพาร์ทเมนต์

ใครที่อยู่ในเขตตัวเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ คงจะได้เห็นคอนโดมากมายผุดขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งผมเริ่มรู้สึกว่า ช่องว่างที่เป็นจุดแตกต่างระหว่างคอนโดกับอพาร์ทเมนต์มันเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ในอดีตการตัดสินใจเลือกว่าจะผ่อนซื้อคอนโดหรือเช่าอพาร์ทเมนต์นั้น ผมว่ามันต่างกันมากอย่างมีนัยยะเลยทีเดียว ทั้งเรื่องการตกแต่ง ขนาดห้อง ระบบพื้นฐานต่างๆ ซึ่งคอนโดล้วนแล้วเหนือกว่าทั้งสิ้น การตัดสินใจเลือกในกรณีที่ต้องอยู่ในพื้นที่นั้นหลายปี แทบจะตัดสินกันที่ Budget ในกระเป๋ากับความต้องการส่วนตัวล้วนๆ สิ่งหนึ่งที่ผมหวั่นใจในเวลานี้คือ การที่คอนโดระดับล่างเริ่มทำห้องเหมือนอพาร์ทเมนต์ และสร้างในจำนวนมากๆใน 1 โครงการ บางที่ขึ้นอาคารใหม่เป็นสิบอาคารซึ่งแทบทั้งโครงการเป็นห้องราคาถูกจับตลาดระดับล่างทั้งสิ้น ขนาดห้องบางโครงการเล็กกว่าอพาร์ทเมนต์บางที่ด้วยซ้ำ และด้วยปริมาณห้องที่สร้างมาจำนวนมากๆ ทำให้ผมเริ่มรู้สึกว่ามันกำลังจะ Over supply (หรือมัน Over ไปแล้วก็ไม่อาจทราบได้) ตอนนี้เลยเป็นช่วงเวลาที่อพาร์ทเมนต์พยายามอัพเกรดตัวเองให้ดีขึ้นเพื่ออัพราคาค่าเช่า ในขณ

จริยธรรม(ของบริษัท)กับการเลือกหุ้นลงทุน

หากใครที่อ่านหนังสือการลงทุนแนว VI บ่อยๆ จะสังเกตได้ว่า หัวข้อหนึ่งที่เราต้องพิจารณาในขั้นตอนเลือกหุ้นและประเมินมูลค่าคือ จริยธรรมของผู้บริหารและบริษัท จริยธรรมเป็นเรื่องที่วัดและดูยากกว่ามูลค่าแท้จริงมากๆครับ เพราะมันเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ ประเมินออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ ไม่มีในงบการเงิน แต่เป็นสิ่งสำคัญที่หากเราพลาดก็อาจนำมาซึ่งหายนะได้เลย การซื้อหุ้นก็เหมือนการที่เราซื้อสิทธิ์เข้าไปเป็นหุ้นส่วนของบริษัทนั้นๆ(ในสัดส่วนตามจำนวนหุ้นที่เราถือ) เปรียบเหมือนเราเอาเงินเข้าไปลงทุนในกิจการนั้นๆ มันคงไม่ดีแน่ถ้าบริษัทที่เราเห็นคุณค่าและตัดสินใจร่วมลงทุน กลับคิดคดโกงผู้ถือหุ้น โดยปกติผมแบ่งจริยธรรมออกเป็น 3 หัวข้อคือ จริยธรรมต่อผู้ถือหุ้น จริยธรรมต่อลูกค้า จริยธรรมต่อพนักงานและลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น บริษัทที่ดีเมื่อมีกำไรและไม่มีแผนการลงทุนต่อควรมีการปันผลเป็นเงินสดคืนผู้ถือหุ้น หรือหากบริษัทมีแผนลงทุนเพิ่มเติม ก็ต้องเป็นการลงทุนที่บริษัทมี knowledge มีความพร้อม และมีอนาคต ในหลายๆครั้ง บริษัทอาจเก็บเงินไว้เพื่อเตรียม Take over บริษัทอื่น ซึ่งหากจริง เราก็ต้องดูด้วยนะครับว่าไป Take

ค่าเสียโอกาสกับการขาดทุน

เชื่อไหมครับ บางครั้งคนเราก็หน้ามืดกดเทรดหุ้นไปอย่างวู่วามและไร้เหตุผลที่ดีมารองรับ เพียงเพราะการคิดย้ำซ้ำไปมาในเรื่องของ "ค่าเสียโอกาส" สำหรับคนที่ไม่คุ้นนะครับ ค่าเสียโอกาสไม่ได้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เราเสียเงินหรือทรัพย์สินไปจริงๆ แต่หมายถึงโอกาสใดๆที่ผ่านเข้ามาแล้วเราไม่ได้คว้ามันเอาไว้ โดยปกติผมคิดว่ามันเป็น "ความรู้สึกเสียดาย" ซะมากกว่า จึงไม่แปลกนักที่ความรู้สึกเสียดายที่เรียกเป็นทางการว่าค่าเสียโอกาสนี้ จะส่งผลค่อนข้างมากต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นซึ่งส่วนมากมักจะพาเราติดดอยมากกว่าทำกำไร จริงอยู่ที่นักลงทุนทุกคนล้วนกลัวการขาดทุน แต่ในหลายๆคน กลับกลัวการเสียโอกาสมากกว่ากลัวขาดทุน บางครั้งพวกเขาเชื่อว่านี่เป็นโอกาสซึ่งถ้าไม่คว้าไว้ก็อาจจะไม่ได้เห็นโอกาสแบบนี้อีกนาน โดยส่วนมากความเข้าใจแบบนี้มักจะเกิดจากการหลงชอบหุ้นตัวนั้นๆ โดนเชียร์จากโบรคเกอร์ โดนเป่าหูไม่ว่าจะจากบทวิเคราะห์หรือคนรอบตัว บางครั้งอาจมาจากโพยผีบอกตามห้องไลน์หรือในอินเทอร์เน็ตด้วยซ้ำ ส่งผลให้พวกเขามักจะขาดทุนจากการเทรดเพราะโดนความอยากและความเสียดายบังตา ถ้าคุณคิดว่าหุ้น A จะโตต่อ วิธีหนึ่

การลืมตระหนักถึง "ความเสี่ยง"

Image
ผมได้คุยกับคุณพ่อเมื่อคืนเกี่ยวกับการลงทุน หากใครอ่านบทความแรกๆของผม(ซึ่งเขียนไม่ค่อยดีเท่าไรนัก) ผมจะมีบอกอยู่ว่าสไตล์การลงทุนของผมกับคุณพ่อนั้น ต่างกันคนละขั้วเลยก็ว่าได้ พ่อผม ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ นิยมเล่น TFEX และเป็นสาย Technical จ๋าเลยทีเดียว ในขณะที่ผมอ่านรายงาน วิเคราะห์งบและพื้นฐานบริษัทหาหุ้นหรือกองทุนดีๆในราคาที่ถูกกว่าพื้นฐานหรือที่ผมเห็นว่าสมเหตุสมผล ความแตกต่างนี้มักทำให้สองคนพ่อลูกปะทะคารมเรื่องการลงทุนเป็นประจำ จนกระทั่งเมื่อคืน พ่อผมเข้ามาเปิดประเด็นว่า "จะหาเงินซักล้านนึงมาเทรด TFEX" ผมถึงกับอึ้งไปเลย ที่อึ้งเพราะหลายปีก่อนหน้านั้นพ่อผมเพิ่งเอาเงินสองแสนที่ยืมญาติมาไปทำอะไรไม่รู้ในตลาดแต่รู้ว่าเงินสองแสนนั้นหายวับไปไหนก็ไม่รู้ คราวนี้คุณท่านมาพร้อมความมั่นใจที่สูงขึ้น และจำนวนเงินที่มากขึ้น แน่นอน ด้วยสไตล์การลงทุนของผม ผมไม่มองตลาด TFEX อยู่ในสายตาด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าคงไม่เทรด TFEX เองแน่ๆ ถ้าจะเทรดก็คงผ่านกองทุนรวม คืนนั้นเลยได้ปะทะคารมกันอีกรอบซึ่งทำให้ผมสัมผัสถึงบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเหตุให้ต้องมาเขียนบทความนี้ ตามภาพแล้ว TFEX นั้นแทบจะเป็