Posts

ช่องว่างของคอนโดและอพาร์ทเมนต์

ใครที่อยู่ในเขตตัวเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ คงจะได้เห็นคอนโดมากมายผุดขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งผมเริ่มรู้สึกว่า ช่องว่างที่เป็นจุดแตกต่างระหว่างคอนโดกับอพาร์ทเมนต์มันเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ในอดีตการตัดสินใจเลือกว่าจะผ่อนซื้อคอนโดหรือเช่าอพาร์ทเมนต์นั้น ผมว่ามันต่างกันมากอย่างมีนัยยะเลยทีเดียว ทั้งเรื่องการตกแต่ง ขนาดห้อง ระบบพื้นฐานต่างๆ ซึ่งคอนโดล้วนแล้วเหนือกว่าทั้งสิ้น การตัดสินใจเลือกในกรณีที่ต้องอยู่ในพื้นที่นั้นหลายปี แทบจะตัดสินกันที่ Budget ในกระเป๋ากับความต้องการส่วนตัวล้วนๆ สิ่งหนึ่งที่ผมหวั่นใจในเวลานี้คือ การที่คอนโดระดับล่างเริ่มทำห้องเหมือนอพาร์ทเมนต์ และสร้างในจำนวนมากๆใน 1 โครงการ บางที่ขึ้นอาคารใหม่เป็นสิบอาคารซึ่งแทบทั้งโครงการเป็นห้องราคาถูกจับตลาดระดับล่างทั้งสิ้น ขนาดห้องบางโครงการเล็กกว่าอพาร์ทเมนต์บางที่ด้วยซ้ำ และด้วยปริมาณห้องที่สร้างมาจำนวนมากๆ ทำให้ผมเริ่มรู้สึกว่ามันกำลังจะ Over supply (หรือมัน Over ไปแล้วก็ไม่อาจทราบได้) ตอนนี้เลยเป็นช่วงเวลาที่อพาร์ทเมนต์พยายามอัพเกรดตัวเองให้ดีขึ้นเพื่ออัพราคาค่าเช่า ในขณ

จริยธรรม(ของบริษัท)กับการเลือกหุ้นลงทุน

หากใครที่อ่านหนังสือการลงทุนแนว VI บ่อยๆ จะสังเกตได้ว่า หัวข้อหนึ่งที่เราต้องพิจารณาในขั้นตอนเลือกหุ้นและประเมินมูลค่าคือ จริยธรรมของผู้บริหารและบริษัท จริยธรรมเป็นเรื่องที่วัดและดูยากกว่ามูลค่าแท้จริงมากๆครับ เพราะมันเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ ประเมินออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ ไม่มีในงบการเงิน แต่เป็นสิ่งสำคัญที่หากเราพลาดก็อาจนำมาซึ่งหายนะได้เลย การซื้อหุ้นก็เหมือนการที่เราซื้อสิทธิ์เข้าไปเป็นหุ้นส่วนของบริษัทนั้นๆ(ในสัดส่วนตามจำนวนหุ้นที่เราถือ) เปรียบเหมือนเราเอาเงินเข้าไปลงทุนในกิจการนั้นๆ มันคงไม่ดีแน่ถ้าบริษัทที่เราเห็นคุณค่าและตัดสินใจร่วมลงทุน กลับคิดคดโกงผู้ถือหุ้น โดยปกติผมแบ่งจริยธรรมออกเป็น 3 หัวข้อคือ จริยธรรมต่อผู้ถือหุ้น จริยธรรมต่อลูกค้า จริยธรรมต่อพนักงานและลูกจ้าง ผู้ถือหุ้น บริษัทที่ดีเมื่อมีกำไรและไม่มีแผนการลงทุนต่อควรมีการปันผลเป็นเงินสดคืนผู้ถือหุ้น หรือหากบริษัทมีแผนลงทุนเพิ่มเติม ก็ต้องเป็นการลงทุนที่บริษัทมี knowledge มีความพร้อม และมีอนาคต ในหลายๆครั้ง บริษัทอาจเก็บเงินไว้เพื่อเตรียม Take over บริษัทอื่น ซึ่งหากจริง เราก็ต้องดูด้วยนะครับว่าไป Take

ค่าเสียโอกาสกับการขาดทุน

เชื่อไหมครับ บางครั้งคนเราก็หน้ามืดกดเทรดหุ้นไปอย่างวู่วามและไร้เหตุผลที่ดีมารองรับ เพียงเพราะการคิดย้ำซ้ำไปมาในเรื่องของ "ค่าเสียโอกาส" สำหรับคนที่ไม่คุ้นนะครับ ค่าเสียโอกาสไม่ได้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เราเสียเงินหรือทรัพย์สินไปจริงๆ แต่หมายถึงโอกาสใดๆที่ผ่านเข้ามาแล้วเราไม่ได้คว้ามันเอาไว้ โดยปกติผมคิดว่ามันเป็น "ความรู้สึกเสียดาย" ซะมากกว่า จึงไม่แปลกนักที่ความรู้สึกเสียดายที่เรียกเป็นทางการว่าค่าเสียโอกาสนี้ จะส่งผลค่อนข้างมากต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นซึ่งส่วนมากมักจะพาเราติดดอยมากกว่าทำกำไร จริงอยู่ที่นักลงทุนทุกคนล้วนกลัวการขาดทุน แต่ในหลายๆคน กลับกลัวการเสียโอกาสมากกว่ากลัวขาดทุน บางครั้งพวกเขาเชื่อว่านี่เป็นโอกาสซึ่งถ้าไม่คว้าไว้ก็อาจจะไม่ได้เห็นโอกาสแบบนี้อีกนาน โดยส่วนมากความเข้าใจแบบนี้มักจะเกิดจากการหลงชอบหุ้นตัวนั้นๆ โดนเชียร์จากโบรคเกอร์ โดนเป่าหูไม่ว่าจะจากบทวิเคราะห์หรือคนรอบตัว บางครั้งอาจมาจากโพยผีบอกตามห้องไลน์หรือในอินเทอร์เน็ตด้วยซ้ำ ส่งผลให้พวกเขามักจะขาดทุนจากการเทรดเพราะโดนความอยากและความเสียดายบังตา ถ้าคุณคิดว่าหุ้น A จะโตต่อ วิธีหนึ่

การลืมตระหนักถึง "ความเสี่ยง"

Image
ผมได้คุยกับคุณพ่อเมื่อคืนเกี่ยวกับการลงทุน หากใครอ่านบทความแรกๆของผม(ซึ่งเขียนไม่ค่อยดีเท่าไรนัก) ผมจะมีบอกอยู่ว่าสไตล์การลงทุนของผมกับคุณพ่อนั้น ต่างกันคนละขั้วเลยก็ว่าได้ พ่อผม ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ นิยมเล่น TFEX และเป็นสาย Technical จ๋าเลยทีเดียว ในขณะที่ผมอ่านรายงาน วิเคราะห์งบและพื้นฐานบริษัทหาหุ้นหรือกองทุนดีๆในราคาที่ถูกกว่าพื้นฐานหรือที่ผมเห็นว่าสมเหตุสมผล ความแตกต่างนี้มักทำให้สองคนพ่อลูกปะทะคารมเรื่องการลงทุนเป็นประจำ จนกระทั่งเมื่อคืน พ่อผมเข้ามาเปิดประเด็นว่า "จะหาเงินซักล้านนึงมาเทรด TFEX" ผมถึงกับอึ้งไปเลย ที่อึ้งเพราะหลายปีก่อนหน้านั้นพ่อผมเพิ่งเอาเงินสองแสนที่ยืมญาติมาไปทำอะไรไม่รู้ในตลาดแต่รู้ว่าเงินสองแสนนั้นหายวับไปไหนก็ไม่รู้ คราวนี้คุณท่านมาพร้อมความมั่นใจที่สูงขึ้น และจำนวนเงินที่มากขึ้น แน่นอน ด้วยสไตล์การลงทุนของผม ผมไม่มองตลาด TFEX อยู่ในสายตาด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าคงไม่เทรด TFEX เองแน่ๆ ถ้าจะเทรดก็คงผ่านกองทุนรวม คืนนั้นเลยได้ปะทะคารมกันอีกรอบซึ่งทำให้ผมสัมผัสถึงบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเหตุให้ต้องมาเขียนบทความนี้ ตามภาพแล้ว TFEX นั้นแทบจะเป็

สิ่งที่ควรทำ ในช่วงที่แทบทุกอย่างในตลาดแพงไปซะหมด

แม้จะเป็นช่วงที่ตลาดย่อตัวลงมา แต่หลายๆคนคงรู้สึกแบบเดียวกับผม มองไปทางไหนในตลาดทั้งหุ้นที่ดีและไม่ดี แทบทุกตัวล้วนแพงจนไม่น่าซื้อ ยิ่งหุ้นในกระแสยิ่งแล้วใหญ่ ปั่นกันจนดอยสูงมองไม่เห็นยอดกันเลยทีเดียว ผมว่าช่วงนี้นักลงทุนอย่างเราๆไปทำอย่างอื่นนอกจากนั่งเฝ้าตลาดหุ้นกันดีกว่า ไหนๆของมันก็แพงจนบางตัวดูจะเวอร์เกินจริงไปหน่อย เราก็แก้ด้วยการ "รอ" สิครับ ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมของมหาวิทยาลัย ผมเองก็ปิดเทอม ประกอบกับมีแลกเปลี่ยนต้องไปญี่ปุ่นช่วงต้นกรกฎาคม เลยไม่ได้ทำงานพิเศษอื่นใด เลยต้องวางเป้าหมายที่จะทำในช่วงปิดเทอมนี้ซึ่งผมว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนครับ 4 เป้าหมายที่ผมตั้งใจว่าจะทำช่วงปิดเทอม ณ เวลาที่หุ้นแพงโคตร หนังสือ สำหรับผมเอง มักจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับหุ้นและการตลาด ส่วนใหญ่ซื้อมาจากงานหนังสือด้วยความวู่วาม แต่เอาจริงๆสำหรับท่านที่ไม่ชอบเรื่องวิชาการมากๆ อาจจะเป็นวรรณกรรมหรือนิยายก็แล้วแต่ความชอบครับ เกม ด้วยความที่ผมเองโตมาพร้อมกับเกม อีกทั้งเกมยังเป็นแรงบันดาลใจแรกที่ทำให้ผมเลือกเรียนสายไอที ผมจึงเป็นพวกที่มีความสุขกับการได้อยู่เฉยๆนั่งเล่นเกม

อีกด้านหนึ่งของดอกเบี้ยเงินกู้

เรื่องหนี้สินแม้จะเป็นอะไรที่คนเราพยายามหลีกเลี่ยง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันใกล้ตัวเราเหลือเกิน ทั้งซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ส่วนใหญ่ก็คงกู้เอาทั้งนั้น หรือเอาใกล้ตัวอีกหน่อยก็บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อต่างๆ สิ่งที่ตามมาคงไม่พ้น "ดอกเบี้ย" นั่นเอง เป็นที่รู้กันว่าดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉพาะพวกสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น หนี้โหดขนาดไหน ขนาดเอาบัตรเครดิตกดเงินสดยังโดนดอกเบี้ยสูงลิ่วเลย กับคนที่วินัยการเงินเป๊ะๆวางแผนดีๆคงไม่เจอปัญหาอะไร แต่กับคนที่ไม่มีวินัย ใช้จ่ายเกินตัว อันนี้หายนะแน่ๆ สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นมักเป็นการบ่นลงโซเชียลว่าเจอดอกเบี้ยมหาโหด หรือบางคนด่าแบงค์หน้าเลือด รังแกคนจนกันเลยทีเดียว ผมว่าสิ่งที่ควรถามไม่ใช่ "เก็บโหดไปมั้ย" แต่เป็น "ทำไมถึงต้องเก็บขนาดนี้" มากกว่า นักลงทุนทุกท่านทั้งมือใหม่ มือเก่า มือโปร มือสมัครเล่น ย่อมรู้ว่าผลตอบแทนนั้นแปรผันตามความเสี่ยง อะไรก็ตามที่ผลตอบแทนมากๆย่อมมีความเสี่ยงสูง ซึ่งผลตอบแทนอาจมาในรูปเงินปันผล ราคาหลักทรัพย์ และดอกเบี้ย เมื่อดอกเบี้ยถูกนับเป็นรูปแบบหนึ่งของผลตอบแทน ดอกเบี้ยเงินกู้ต่างๆก็เช่นกัน แต่

[การลงทุน] กับดักของ Passive Income

หายไปนานต้องขออภัย เนื่องจากมรสุมโปรเจค + ไฟนอลมหาลัยดันมาอยู่ช่วงเดียวกัน หลายท่านคงจินตนาการออกว่าโหดร้ายเพียงใด แม้จะยังอยู่ในช่วงไฟนอล แต่ก็อยากเขียนอะ ฉะนั้น ช่างหัวมันไปก่อน เขียนบทความไม่กินเวลาขนาดนั้นหรอก ฮ่าๆๆๆ เชื่อว่าคนวัยทำงานทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า Passive Income หลายคนอาจจะผ่านมันมาแล้ว สำเร็จแล้วหรือล้มเหลวมาแล้วก็ตาม แต่เชื่อว่าทุกคนรู้ ขนาดนักศึกษายังรู้เลยครับ แม้แต่มิจฉาชีพก็ชอบอ้างคำนี้ ฉะนั้นทุกคนคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแหละ Passive Income มักมาคู่กับวลีที่ว่า "ให้เงินทำงาน" โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าแค่เอาเงินไปกองไว้ซักที่(ลงทุน)แล้วก็ปล่อยลืมมันไป นั่งกระดิกเท้ารอรับเงินปันผลหรือผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆโดยไม่ต้องไปลงแรงลงสมองอะไร ซึ่งขอบอกเลยว่าความคิดนี้ ผิดอย่างแรง!!! สาเหตุที่คนเราเข้าใจผิดได้ขนาดนั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องคำนิยามของคำว่า "การทำงาน" มากกว่า ส่วนใหญ่คนเรามักเข้าใจว่าการทำงานคือการเข้าออฟฟิศตรงเวลา นั่งทำงานวันละ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่า มีกรอบเวลาการทำงานและตำแหน่งหน้าที่ แต่โดยส่วนตัวผมแล้วการทำงานโดยทั่วไปกับการทำงานที่ให้ Passiv