Posts

Criteria ในการซื้อหุ้น

Image
ผมเชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้น เข้ามาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่ละคนมักจะมีนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ซักคนเป็นไอดอล แต่เชื่อมั้ยครับ ไม่ว่าเราจะมีใครเป็นไอดอลก็ตาม เราจะมี Criteria ในการตัดสินใจซื้อหุ้นที่ไม่เหมือนกับคนที่เรามองว่าเป็นไอดอลแน่นอน Business photograph designed by Pressfoto - Freepik.com อย่างที่ผมกล่าวไว้ตอนแรก ทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นย่อมมีเหตุผลที่เข้ามาอยู่แล้ว บางคนอาจต้องการเข้ามาเก็งกำไร บางคนอาจต้องการสร้างกระแสเงินสด บางคนอยากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากธนาคาร คนเรามีเหตุผลสารพัดแบบในการเอาเงินมาลงทุน เหตุผลเหล่านั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แต่ละคนลงทุนโดยมีเงื่อนไขการตัดสินใจที่ไม่เหมือนกัน และโดยส่วนใหญ่ไม่เหมือนแม้กระทั่งกับคนที่เป็นไอดอลของตัวเองด้วย ผมเองเข้ามาในตลาดโดยเชื่อมั่นในการลงทุนแนวเน้นคุณค่า แน่นอนครับว่าผมมี Warren Buffett เป็นไอดอลแน่นอนแต่ผมสามารถบอกได้เลยว่าจุดประสงค์ในการลงทุนของผมกับ Warren Buffett ไม่เหมือนกัน ในขณะที่การลงทุนของ Warren Buffett จะเน้นที่มูลค่า โดยเชื่อว่าการนำกำไรกลับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) เพื่อเพิ่ม

เมื่อการตัดสินใจผิดเพี้ยนไปเพราะ Information Overload

Image
ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งในบรรดาเทคโนโลยีที่มนุษย์พัฒนาขึ้นคือ มันทำให้เราเปลี่ยนโลกธุรกิจที่เดิมเราแทบไม่รู้อะไรเลยให้กลายเป็นโลกที่เรารู้มันทุกสิ่งอย่างจนมากเกินไป ในเวลาแค่ประมาณ 20 ปี ยุคสมัยนี้มีคำกล่าวที่ว่า ข้อมูลเปรียบเสมือนบ่อน้ำมัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของข้อมูลที่เดิมพวกเราคิดว่ามันไม่มีค่า มันสร้างความได้เปรียบมากมายในโลกธุรกิจสำหรับคนที่เห็นค่ามันและไม่ตกอยู่ในด้านมืดของมัน หากการรู้ข้อมูลมากมายสร้างโอกาสและมุมมองให้กับธุรกิจเป็นด้านสว่าง อีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นด้านมืดของมันคงเป็นการรับข้อมูลมากๆและจัดการไม่ได้จนมันส่งผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ ตัวอย่างของ Information Overload แบบใกล้ตัวผม ก็เป็นเรื่องธุรกิจอพาร์ทเมนต์ที่ครอบครัวผมทำนี่แหละครับ หากจำปี 54 ที่น้ำท่วมได้ หลายๆคนคงจำได้ว่ามีเหตุการณ์ย้ายฐานการผลิตหลายโรงงานเป็นจำนวนมาก หลายๆที่ถึงกับเลิกกิจการเลยก็มี ซึ่งกิจการทางบ้านของผม ได้รับผลกระทบจาก Demand ที่ลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในความคิดผม นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหาครับ ครอบครัวผมค่อนข้างเฉื่อยมากในการตัดสินใจทางธุรกิจ คนที่มีอำนาจซึ่งเป็นคุณอา บอ

มารู้จักกับ Student Syndrome และผลกระทบของมัน

Image
โรคนี้ผมเชื่อว่าทุกคนที่อ่านบทความนี้อยู่ไม่ว่าจะรุ่นไหนหรือผ่านไปกี่ปีก็ตาม ต้องเคยสัมผัสกับอาการของมันอย่างแน่นอน และบางคนอาจกำลังเป็นอยู่ด้วย ถูกต้องครับ มันคือ  Student Syndrome นั่นเอง Student Syndrome คือรูปแบบพฤติกรรมการผลัดวันประกันพรุ่งแบบหนึ่ง เป็นการตัดสินใจที่จะ "ไม่ทำ" งานที่ได้รับมอบหมายโดยเลื่อนมันออกไปจนกว่าจะถึงนาทีสุดท้าย (นาทีที่เดตไลน์และความชิบหายมาเคาะประตู และต้องเผางานเอาเป็นเอาตายนั่นแหละ) อาการแบบนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง มักจะเกิดขึ้นมากในกลุ่มคนที่มีความรับผิดชอบต่ำกว่าคนทั่วๆไป ซึ่งมักจะไม่ค่อยวางแผนอะไรในชีวิตซักเท่าไร(หรือไม่ก็วางเป้าหมายไว้สูงมากแต่จัดการวางแผนเวลาไม่เป็น) โดยพอเดตไลน์มาถึง คนกลุ่มนี้มักจะหาวิธีที่จะเลื่อนเดตไลน์ออกไปเสมอ ผลกระทบของมัน คือเรื่อง Productivity ครับ และมักเกี่ยวข้องไปถึง Passion ในการทำงานด้วย หลายครั้งงานที่เราเลื่อนออกไปคืองานที่เราไม่ชอบ หรืองานที่เราคิดว่าทำแล้วจะเครียด พอเลื่อนไปทำใกล้ๆเดตไลน์ ความฉิบหายก็บังเกิด ยิ่งเป็นงานที่ต้องทำเป็นทีม ยิ่งฉิบหายเป็นลูกโซ่เลยครับ ผมเชื่อว่า

Internet บ้านกับการแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดของผู้ให้บริการ

เชื่อว่าแทบทุกคนที่อ่านบทความนี้หรือรับรู้บทความนี้มี Internet บ้าน ไม่ว่าจะติดเองที่บ้านหรือใช้เน็ตส่วนกลางของหอพัก อพาร์ทเมนต์ (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้เน็ตบ้านมาแชร์กันนั่นแหละ) อุดมคติของทุกคนคืออยากใช้ Internet ของผู้ให้บริการที่ดีที่สุดในพื้นที่ เร็วที่สุด เสถียรที่สุด เห็นได้จากโปรโมชั่นต่างๆของผู้ให้บริการที่ออกมาแข่งขันกันแบบดุเดือด ชูโรงทั้งเรื่องความเร็วและเทคโนโลยีที่ใช้ แถมยังมีบริการพิเศษอื่นๆพ่วงเข้ามาอีกเยอะแยะมากมาย หลายๆผู้ให้บริการโฟกัสที่ว่า "เราต้องเร็วที่สุด" "ถูกที่สุด" "เทคโนโลยีดีที่สุด" ลูกค้าถึงจะมาใช้บริการ ผมไม่เห็นผู้บริการเจ้าไหนออกมาเน้นว่าเราให้บริการ Internet ที่ "เสถียรที่สุด" ซักเจ้า ซึ่งในมุมมองผม นี่แหละคือจุดที่ผู้ให้บริการสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ====================================== จากประสบการณ์ตรงของผมที่ทำงานเป็น Network Admin ของกิจการอพาร์ทเมนต์ที่บ้านผม แน่นอนว่าผมให้ความสำคัญกับความเสถียรของ Internet เป็นอย่างมาก โดยผูกพันธ์กับ Internet ค่ายสีส้มมานานหลายปี(

การตัดสินใจที่ยากที่สุด

การจะลงทุนอะไรซักอย่าง การตัดสินใจหลักๆผมว่าคงไม่พ้น "ตัดสินใจซื้อ" กับ "ตัดสินใจขาย" ซื้อหรือไม่ซื้อ ขายหรือไม่ขาย หลักๆไม่ว่าจะมือใหม่ มือโปร สายเทคนิค สายคุณค่า มันก็วนๆอยู่แค่นี้แหละ (ผมมองการตัดใจถือคือการ "ไม่ขาย" นะครับ) การตัดสินใจที่ยากที่สุด หลายคนอาจมองว่าคือ "การซื้อ" บ้างก็ว่าเพราะต้องดูพื้นฐานเยอะแยะไปหมด บ้างก็ว่าต้องรอสัญญาณทางเทคนิค บ้างก็ว่าเพราะความกลัวดอยของตัวนักลงทุนเอง แต่ผมกลับมองว่า "การซื้อ" ไม่ยากเท่า "การขาย" การซื้อเราใช้ข้อมูลที่ผ่านมาแล้วเป็นหลักในการประเมิน ทั้งเรื่องมูลค่าบริษัท งบการเงิน สัญญาณทางเทคนิค บทวิเคราะห์จากโบรคเกอร์(ซึ่งก็ต้องวิเคราะห์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแล้วประเมินต่อไปในอนาคต) เราใช้อดีตเป็นข้อมูลส่วนใหญ่ในการตัดสินใจซื้อ แล้วการขายล่ะ โดยส่วนมากแล้วเรามักจะขายหุ้นทิ้งกันแบบไม่ค่อยมีเหตุมีผล แต่ผมว่าการขายทิ้งส่วนใหญ่มีพื้นฐานจากความกังวลเกี่ยวกับอนาคต กลัวดอย กลัวบริษัทเจ๊ง คาดการณ์ว่ากำไรจะลดลง กลัววิกฤติเศรษฐกิจ กลัวความผันผวนของหุ้น เปลี่ยนไปถือสินทรัพย์อื

ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด

ผมชอบอ่านประวัติของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ นอกจากเรื่องที่ว่ามันจุดประกายและเป็นแรงบันดาลใจแล้ว มันยังสอนผมให้รู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรตัวนึงที่จำเป็นมากๆในการพัฒนาตนเอง(รวมถึงพัฒนาอย่างอื่น) นั่นคือ "เวลา" ผมมักจะมองว่าเวลาเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งที่เราต้อง "จ่าย" ออกไปเป็นต้นทุนในการพัฒนาและเป็นสิ่งที่เราต้องจ่ายออกไปตลอดทั้งวันทั้งคืน ผมจึงมองเวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่ามาก มีจำกัด และไม่สามารถควบคุมได้ และมันจำเป็นกับทุกๆอย่าง ทั้งการพัฒนา การทำงาน การใช้ชีวิต ผมค่อนข้างให้ความสำคัญกับการจัดสรรเวลามาก และไม่ชอบการทำงานที่ฉุกละหุกไปซะทุกอย่าง (โอเค เรื่องฉุกละหุกมันก็มีบ้างเวลาทำงาน แต่ไม่ใช่ฉุกเฉินแม่งทุกเรื่อง อันนั้นเกินไป) ผมมักจะวางแผนเพื่อใช้เวลาที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับผมแล้ว ยิ่งผมรู้รายละเอียดของปัญหาที่ผมต้องแก้เร็วเท่าไร ยิ่งมีเวลาให้ผมศึกษาและแก้ไขมันได้มากเท่านั้น บุคคลที่ประสบความสำเร็จมีทั้งคนที่มีเวลามาก มีเวลาน้อย หลายคนเสียดายเวลาที่เสียไปในแต่ละช่วงชีวิต ยิ่งเราจัดสรรเวลาให้กับเรื่องเล็กเรื่องน้อยมากเท่าไร เรายิ่งมีเวลาจัดการเรื่

ช่องว่างของคอนโดและอพาร์ทเมนต์

ใครที่อยู่ในเขตตัวเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพ ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ คงจะได้เห็นคอนโดมากมายผุดขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งผมเริ่มรู้สึกว่า ช่องว่างที่เป็นจุดแตกต่างระหว่างคอนโดกับอพาร์ทเมนต์มันเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ในอดีตการตัดสินใจเลือกว่าจะผ่อนซื้อคอนโดหรือเช่าอพาร์ทเมนต์นั้น ผมว่ามันต่างกันมากอย่างมีนัยยะเลยทีเดียว ทั้งเรื่องการตกแต่ง ขนาดห้อง ระบบพื้นฐานต่างๆ ซึ่งคอนโดล้วนแล้วเหนือกว่าทั้งสิ้น การตัดสินใจเลือกในกรณีที่ต้องอยู่ในพื้นที่นั้นหลายปี แทบจะตัดสินกันที่ Budget ในกระเป๋ากับความต้องการส่วนตัวล้วนๆ สิ่งหนึ่งที่ผมหวั่นใจในเวลานี้คือ การที่คอนโดระดับล่างเริ่มทำห้องเหมือนอพาร์ทเมนต์ และสร้างในจำนวนมากๆใน 1 โครงการ บางที่ขึ้นอาคารใหม่เป็นสิบอาคารซึ่งแทบทั้งโครงการเป็นห้องราคาถูกจับตลาดระดับล่างทั้งสิ้น ขนาดห้องบางโครงการเล็กกว่าอพาร์ทเมนต์บางที่ด้วยซ้ำ และด้วยปริมาณห้องที่สร้างมาจำนวนมากๆ ทำให้ผมเริ่มรู้สึกว่ามันกำลังจะ Over supply (หรือมัน Over ไปแล้วก็ไม่อาจทราบได้) ตอนนี้เลยเป็นช่วงเวลาที่อพาร์ทเมนต์พยายามอัพเกรดตัวเองให้ดีขึ้นเพื่ออัพราคาค่าเช่า ในขณ